ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

บังกลาเทศระบุ การไหลทะลักของคลื่นผู้ลี้ภัย “ชาวโรฮิงญา” สิ้นสุดแล้ว


เอเอฟพี – การไหลทะลักของชาวโรฮิงญาเข้าสู่บังกลาเทศดูเหมือนว่าจะหยุดลงแล้ว เจ้าหน้าที่กล่าวในวันนี้ (23) เกือบหนึ่งเดือนหลังจากเกิดความรุนแรงในเมียนมาร์ซึ่งส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยเกือบ 430,000 คนในช่วงเวลาสี่สัปดาห์

ชาวมุสลิมโรฮิงญาอยู่รวมกันอย่างแออัดในค่ายรอบๆ เมืองชายแดนคอกซ์บาซาร์ของบังกลาเทศ ทำให้รัฐบาลและหน่วยงานของยูเอ็นต้องใช้ทรัพยากรจนถึงขีดจำกัด
อย่างไรก็ตาม หน่วยรักษาชายแดนของบังกลาเทศกล่าวว้า พวกเขาไม่เห็นเรือบรรทุกชาวโรฮิงญาบนแม่น้ำนาฟซึ่งเป็นเหมือนกับชายแดนของเมียนมาร์หรือในอ่างเบงกอลมาเป็นเวลาอย่างน้อย 3 วันแล้ว การเดินทางข้ามมายังชายแดนบนบกแทบจะไม่มีแล้ว

“เจ้าหน้าที่ของเราไม่เห็นชาวโรฮิงญาข้ามมาเลยในข่วงสองสามวันที่ผ่านมา การไหลละลักยุติลงแล้ว” เอส.เอ็ม. อาริฟูล อิสลาม ผู้บัญชาการหน่วยรักษาชายแดนบังกลาเทศ บอกกับเอเอฟพี

องค์การสหประชาชาติก็ระบุเช่นกันว่า “การไหลทะลักยุติลงแล้ว” ในขณะที่พวกเขาแจ้งการประเมินจำนวนชาวโรฮิงญาที่ข้ามชายแดนใหม่ที่ 429,000 คน นับตั้งแต่การกวาดล้องทางทหารขิงเมียนมาร์ในรัฐยะไข่เริ่มต้นเมื่อเดือนสิงหาคม

กองทัพบังกลาเทศและยูเอ็นไม่ได้เสนอเหตุผลของการที่ผู้ลี้ภัยข้ามแดนลดลงอย่างกะทันหันนี้ หลายหน่วยงานของยูเอ็นแจ้งความคืบหน้ารายวันเกี่ยวกับตัวเลขผู้ลี้ภัยแต่ตอนนี้พวกเขาระบุว่า จะมีการแจ้งความคืบหน้าทุกวันอาทิตย์ (23) เท่านั้น

ในสัปดาห์นี้ผู้นำโดยพฤตินัยของเมียนมาร์ ออง ซานซูจี กล่าวว่า ทหารได้ลดระดับ “ปฏิบัติการกวาดล้าง” ที่มุ่งกลุ่มติดอาวุธโรฮิงญาในพื้นที่ชายแดนของเมียนมาร์

การโจมตีสถานีตำรวจเมียนมาร์ของกลุ่มติดอาวุธเมื่อวันที่ 25 สิงหาคมเป็นชนวนให้เกิดการปราบปรามทางทหารที่ยูเอ็นระบุว่า อาจเทียบเท่ากับ “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์”

ชาวโรฮิงญาที่ข้ามชายแดนระบุว่า พวกเขาเห็นการสังหารหมู่และข่มขืนโดยฝีมือทหารและกลุ่มติดอาวุธชาวพุทธในเมียนมาร์ กองทัพปฏิเสธข้อหาดังกล่าว

กลุ่มสิทธิ แอมเนสตีอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า พวกเขาได้ประเมินคลิปวีดิโอใหม่สามคลิปที่ถูกถ่ายภายในรัฐยะไข่เมื่อวันศุกร์ (23) เผยให้เห็น กลุ่มควันขนากใหญ่ลอยขึ้นจากหมู่บ้านชาวโรฮิงญา

ชนกลุ่มน้อยไร้สัญชาติกลุ่มนี้อดทนมานานหลายปีกับการเลือกปฏิบัติในประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธแห่งนี้ซึ่งปฏิเสธความเป็นพลเมืองของพวกเขา

ก่อนการลี้ภัยครั้งล่าสุดนี้ บังกลาเทศให้ที่พักพิงชาวโรฮิงญาอยู่แล้วราว 300,000 คนที่หลบหนีจากความรุนแรงก่อนหน้านี้ในรัฐยะไข่

ที่มาของเนื้อหา:mgronline.com