ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันพุธ, 24 เมษายน 2567

ดร.สุรินทร์ จับมือผู้ได้รับรางวัลโนเบล รณรงค์ยูเอ็นแก้ปํญหาโรฮิงญาเร่งด่วน

ดร.สุรินทร์ พิศสวุรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ร่วมกับคณะผู้ได้รับรางวัลสันติภาพ โนเบล และบุคคลสำคัญด้านอื่นๆ ทั่วทุกมุมโลก เร่งหามาตรการผลักดันให้สหประชาชาติ คณะมนตรีมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ องค์กร และบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อื่นๆ ดำเนินการแก้ปัญหาเกี่ยวกับวิกฤติการณ์โรฮิงญาอย่างเร่งด่วนและเป็นรูปธรรม
.
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้านการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และมาตรการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนอื่นๆ
.
ความร่วมมือดังกล่าวนี้ ริเริ่มดำเนินการตั้งแต่สัปดาห์แรกที่เกิดสถานการณ์ความรุนแรงระลอกใหม่ขึ้น มีการร่างข้อเรียกร้อง มาตรการและข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมเพื่อยื่นเป็นโรดแมพฉบับร่างเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและการแก้ปัญหาแบบยั่งยืนในระยะยาวต่อไป
.
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ในฐานะ 1 ใน 25 สมาชิกสภาผู้ลี้ภัยโลก (The World Refugee Council: WRC) และในฐานะสมาชิกและประธานบอร์ดขององค์กรระหว่างประเทศ องค์กรการกุศลระหว่างประเทศ อื่นๆ อีกหลายองค์กร ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็๋นสิทธิมนุษยธรรมและมนุษยธรรม ได้เข้าร่วมประชุมติดตามอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับสถานการณ์ผู้ลี้ภัยในภาพรวมทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาค ซึ่งปัจจุบันโลกกำลังเผชิญปัญหาท้าทายและสถานการณ์กดดันในโลกสมัยใหม่ด้านสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมหลากหลายประการ
.
สมาชิกของ สภาผู้ลี้ภัยโลก (WRC) 25 คน ได้จัดประชุมครั้งแรกขึ้นเมื่อวันที่ 12-13 มิถุนายน 2560 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอแลนด์ เพื่อศึกษาแนวทาง เครื่องมือ กลไก และความร่วมมือใหม่ๆ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเฝ้าติดตามและแก้ปัญหาสถานการณ์ผู้อพยพย้านถิ่นกว่า 65 ล้านคน และผู้อพยพลี้ภัยกว่า 20 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศมุสลิม และมีแนวโน้มของสถานการณ์ที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น
.
การประชุมครั้งต่อไปของ WRC กำหนดจัดขึ้นที่กรุงอัมมาน ประเทศจอร์แดน และ เบอร์ลิน เยอรมัน ในเดือนพฤษจิกายน ที่จะถึงนี้ และจะหมุนเวียนไปจัดประชุมในเมืองต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งกรุงเทพของไทย
.
บทบาททางการฑูต การเมือง การประสานงานของฝ่ายต่างๆ ในระดับโลก ทั้งที่เป็นบทบาทขององค์กร หน่วยงาน หรือ บทบาทส่วนบุคคล เป็นเครื่องมือสำคัญประการหนึ่งในการเข้าถึงขั้วอำนาจ คู่ขัดแย้ง องค์กร ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ผู้ลี้ภัยต่างๆ เป็นทั้งแรงกดดัน การให้ข้อเสนอแนะแนวทาง การสร้างทางเลือกเพื่อการตัดสินใจทางการเมื่อง และการดำเนินการมาตรการต่างๆ ของฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้น

ที่มาของเนื้อหา : www.mtoday.co.th