ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันศุกร์, 3 พฤษภาคม 2567

ดร.สุรินทร์ ชี้ อาจนำกรณีติมอร์ตะวันออกมาใช้แก้ปัญหาในรัฐยะไข่


เมื่อชาวมุสลิมโรฮิงญาที่หนีจากความรุนแรงในรัฐยะไข่ของเมียนม่าร์ออกมา ยังคงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ประชาคมอาเซียน (ASEAN) ยังคงทำอะไรไม่ถูก และหาทางออกยังไม่ได้ ว่าจะช่วยดับไฟจากการปะทะกันในชุมชนเพื่อนบ้านอย่างไร

สถานการณ์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นในรัฐทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมียนม่าร์ ที่มีพรมแดนติดต่อกับบังกลาเทศ ได้ส่งผลกระทบไม่แต่เฉพาะกับชาวโรฮิงญาที่ยากจนในเมียนมาร์เท่านั้น แต่ยังกระทบกับชาวยะไข่ที่นับถือศาสนาพุทธ และชาวฮินดู ซึ่งต้องพลอยหลบหนีจากการเผาทำลาย และการโจมตีบ้านเรือนด้วย


นับตั้งแต่ที่เกิดความรุนแรงขึ้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม เมื่อกลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญาโจมตีจุดตรวจ และที่ตั้งทหารตามชายแดน เจ้าหน้าที่สหประชาชาติได้ประมาณการณ์ว่า มีชาวโรฮิงญาเตลิดหนีจากถิ่นที่พักข้ามพรมแดนเข้าหลบภัยในบังคลาเทศราว 123,600 คน มีรายงานว่า ชาวพุทธและชาวฮินดูในรัฐยะไข่อย่างน้อย 11,000 ได้หนีเข้าไปหลบภัยในค่ายที่ตั้งในเขตเมียนมาร์ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 400 ราย

วิกฤติด้านมนุษยธรรมที่เกิดขึ้นครั้งนี้ เสี่ยงที่จะทำให้อาเซียนสูญเสียความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นในระดับนานาชาติ หากว่ากลุ่มประเทศในภูมิภาคนี้ จะยังคงเมินเฉยต่อชะตากรรมของชาวโรฮิงญา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันมิให้วิกฤตินี้ลุกลามกลายเป็นความตึงเครียดในภูมิภาค


ในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีจำนวนสมาชิกจาก 10 ประเทศ อาเซียนมีความภาคภูมิใจที่สามารถรอดพ้นวิกฤติในภูมิภาค รวมทั้งสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ มาแล้วหลายครั้ง ทำให้อาเซียนกลายเป็น “ชุมชนแห่งการแบ่งปันและห่วงใยสังคม” แต่วิกฤติในรัฐยะไข่ครั้งนี้ เป็นความท้าทายใหม่ ซึ่งกำลังทดสอบความน่าเชื่อถือของอาเซียน

อาเซียนเคยมีบทบาทในการยับยั้งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภูมิภาค ในยุคต้น และปลายปี 90s เคยช่วยรับมือกับความขัดแย้งในกัมพูชา และเคยมีส่วนร่วมกับนานาชาติ ในความพยายามรื้อฟื้นกฎหมายและระเบียบในติมอร์ตะวันออก ในช่วงต้นและปลายปี 2000 อาเซียนช่วยจำกัดการเพิ่มขึ้นของความขัดแย้งในอาเจะ อินโดนีเซีย และความตึงเครียดทางชายแดนระหว่าง 2 ประเทศสมาชิก คือ กัมพูชา กับไทย


ถึงแม้ความพยายามร่วมกันเหล่านี้จะดำเนินไปด้วยวิถีทางการทูตแบบไม่เปิดเผย และความมุ่งมั่นทางการเมืองโดยรวม แต่ก็ได้ช่วยยับยั้งความขัดแย้งไม่ให้ทวีมากขึ้นอีก

ในปี 2008 เมื่อพม่าถูกถล่มด้วยพายุไซโคลนนาร์กิส ประชาคมอาเซียนได้พิสูจน์ให้เห็นถึงบทบาทความเป็นผู้นำในภูมิภาค ด้วยการจัดหาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับประชาชนที่ได้รับภัยพิบัติทางธรรมชาตินี้ด้วย


ระหว่างปี 2008 – 2010 ซึ่งผมได้เป็นหัวหอกในการพยายามดำเนินงานด้านมนุษยธรรมของอาเซียน โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ ธนาคารโลก และประชาคมนานาชาติ ทำให้เราสามารถจัดการนำความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากนานาชาติ ไปสู่เหยื่อภัยพิบัติพายุนาร์กิสได้ ซึ่งขณะนั้น เมียนม่าร์ยังถูกคว่ำบาตรจากหลายประเทศ

เลขาธิการสหประชาชาติถึงกับปรารภว่า มีความเป็นไปได้ว่า สถานการณ์เลวร้ายในรัฐยะไข่ที่ได้รับการเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ อาจจะเป็น “ภัยพิบัติแห่งมนุษยชาติ” ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งบททดสอบในความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความมีประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือของประชาคมอาเซียนด้วย เช่นกัน


การใช้วิธีการเจรจาทางการทูตแบบ “ส่วนบุคคล” ของรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย Retno Marsudi ซึ่งได้พบกับผู้บัญชาการกองทัพพม่า นายพล Min Aung Hlaing ที่กรุงเนปิดอว์ เมื่อวันที่ 4 กันยายน ที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม เธอยังต้องการการสนับสนุนโดยรวมจากเพื่อนร่วมงาน ที่เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนคนอื่นๆ ให้ช่วยกันยับยั้งการปะทุของความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ ที่อาจจะขยายตัวกลายเป็นความขัดแย้งในระดับภูมิภาค ตามการแบ่งแยกทางวัฒนธรรมก็ได้


อาเซียนมีทักษะด้านการทูตมากพอที่จะไม่ถูกกล่าวหาว่า “แทรกแซง” กิจการภายในของประเทศสมาชิกด้วยกัน นั่นก็เพราะอาเซียนเคยทำสำเร็จมาแล้ว

สิ่งที่อาเซียนต้องการในจุดเชื่อมต่ออันวิกฤตินี้ คือการสำนึกถึงความเร่งด่วน และการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพร่วมกัน มิฉะนั้น ภัยพิบัติแห่งมนุษยชาติในรัฐยะไข่ ก็จะถูกจัดว่าเป็นปัจจัยของความไร้เสถียรภาพอย่างร้ายแรงในภูมิภาค


ลองนึกภาพการแบ่งแยกทางวัฒนธรรมที่อาจจะเกิดขึ้นภายในชุมชนอาเซียน นึกถึงว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับความปลอดภัยของช่องแคบมะละกา หากพวกนิยมความสุดโต่งยึดครองพรมแดนระหว่างบังคลาเทศ กับเมียนม่าร์ไว้ได้

หวังว่าผมคงจะคิดผิด และคงจะไม่เป็นคนที่ขี้ตื่นตกใจ แต่ถ้าเรามัวหลงระเริง และละเลยต่อพัฒนาการของวิกฤตินี้ เราคงจะต้องเจอกับภัยพิบัติแห่งมนุษยชาติ และภัยพิบัติแห่งความมั่นคง อย่างแท้จริงด้วยตัวเอง

อาเซียนสามารถดำเนินการเจรจาในวิกฤติรัฐยะไข่ ในสถานการณ์เช่นนั้น ผมขอให้คำแนะนำว่า: ควรนำวิธีการที่ใช้ในวิกฤติติมอร์ตะวันออก (East Timorese) ปี 1999 มาปรับใช้

ในช่วงนั้น ไทยนั่งเก้าอี้ประธานอาเซียน สมาชิกอาเซียนบางประเทศไม่เต็มใจที่จะข้องเกี่ยวกับความพยายามของนานาชาติ ในการนำสันติภาพและเสถียรภาพมาสู่ดินแดนติมอร์ตะวันออก ซึ่งในช่วงนั้นการจู่โจมทำร้ายประชาชนของกลุ่มติดอาวุธ ที่ต่อต้านการปลดปล่อยติมอร์ให้เป็นอิสระ บานปลายกลายเป็นความรุนแรงขึ้นทั่วประเทศ


ในขณะนั้น นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย ในฐานะประธานอาเซียนได้ช่วยผ่าทางตันของปัญหาให้หลุดพ้น ด้วยการกล่าวคำเหล่านี้ “ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งเตรียมพร้อมแล้วและเต็มใจ สามารถเข้าร่วมใน ‘กองกำลังนานาชาติเพื่อติมอร์ตะวันออก (Interfet)’ ได้”

ทั้งนี้ ท่านนายกชวนหมายถึง กองกำลังทหารนานาชาติ ที่จัดตั้งขึ้นโดยประเทศออสเตรเลีย เพื่อเข้าไปช่วยแก้ปัญหาวิกฤติด้านมนุษยธรรม และความมั่นคงในประเทศ ระหว่างปี 1999 – 2000 ก่อนที่สหประชาชาติจะส่งกองกำลังรักษาความสงบของ UN (UN Transitional Authority for East Timor) เข้ามาควบคุมสถานการณ์


หลังจากนายกชวน ตั้งข้อสังเกตในเรื่องนี้ออกไป การเกี่ยวพันในติมอร์ตะวันออก กลายเป็น “การรวมเป็นพันธมิตรด้วยความเต็มใจ” และช่วยหลีกเลี่ยงจากการต้องได้รับมติที่จำเป็นสำหรับหลักการในการตัดสินใจด้วย

ในครั้งนี้ เพื่อช่วยแก้วิกฤติในรัฐยะไข่ อาเซียนก็น่าจะทำเช่นนั้นได้อีก แต่ต้องตัดสินใจทำอย่างรวดเร็ว เพื่อสงวนรักษาชีวิต และป้องกันมิให้การนองเลือดทวีความรุนแรงขึ้น และขยายตัวกลายเป็นความตึงเครียดระดับภูมิภาค


ทั่วโลกกำลังจับตามอง ว่าความน่าเชื่อถือและโครงสร้างของอาเซียนจะถูกแขวนอยู่บนความสมดุลหรือไม่

https://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/1319167/aseans-timor-response-shows-way

http://www.bangkokpost.com

ที่มาของเนื้อหา : tangnamnews.wordpress.com