ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันศุกร์, 17 พฤษภาคม 2567

ประวัติศาสตร์ ‘ชาวโรฮิงญา’ ทำไม..อยู่พม่าไม่ได้? : โรฮิงญา Pantip

 

ประวัติศาสตร์ 'ชาวโรฮิงญา' ทำไม..อยู่พม่าไม่ได้?

 

ประวัติศาสตร์ ‘ชาวโรฮิงญา’ ทำไม..อยู่พม่าไม่ได้?

โรฮิงญา หรือ โรฮีนจา (Rohinga) คือ มุสลิมที่อาศัยอยุ่ทางตอนเหนือของยะไข่ (อาระกัน) และพูดภาษาโรฮีนจา นักวิชาการบางคนบอกว่า พวกเขาเป็นคนพื้นเมืองในยะไข่ ในขณะที่นักประวัติศาสตร์หลายคนกล่าวว่า พวกเขาเป็นผู้อพยพมาจากเบงกอล ในช่วงที่อังกฤษปกครอง และบางส่วนก็มาในช่วงที่พม่าได้รับเอกราช และช่วงสงครามกลางเมืองในบังคลาเทศ

มุสลิมได้เข้ามาอยู่อาศัยในอาระกันตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 แต่จำนวนไม่สามารถระบุได้แน่ชัด  หลังจากสงคราม Anglo-Burmese ในปี 1826 อังกฤษ เข้าปกครองอาระกัน และอพยพผู้คนจากเบงกอลเข้ามาใช้แรงงาน จำนวนประชากรของมุสลิมคิดเป็น 5% ของชาวอาระกันในขณะนั้น (1869) แต่หลังจากนั้นไม่นาน จำนวนประชากรโรฮิงยาได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บันทึกตามสัมโนประชากรของอังกฤษระหว่างปี 1872 และ 1991 ได้ระบุว่าจะนวนประชากรมุสลิมในยะไข่ เพิ่มขึ้นจาก 58,255 คนเป็น  178,646 คน 

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดความรุนแรงระหว่างกองกำลังมุสลิม ที่อังกฤษติดอาวุธให้ กับกองกำลังชาวยะไข่พื้นเมือง ทำให้ความขัดแย้งเพิ่มสูงขึ้น ในปี 1982 นายพลเนวินได้ทำรัฐประหารสำเร็จ และปฏิเสธความเป็นพลเมืองพม่าของชาวโรฮิงญา

 

ประวัติศาสตร์ชาวโรฮิงญา

ยุคสมัยอณาจักร มรัคอู 

หลักฐานของการตั้งถิ่นฐานของมุสลิมเบงกอลในดินแดนอาระกันครั้งแรก ย้อนกลับไปได้ถึงยุคของกษัตริย์ชาวพุทธนามว่า นรเมขลา (1430-1434) แห่งอาณาจักร มรัคอู (Mrauk U) หลังจากที่กษัตริย์นรเมขลาได้ลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ในเบงกอล(บังคลาเทศ)เป็นเวลา 24 ปี เขาได้กลับมาครองบันลังก์ได้อีกครั้งในปี 1430 โดยการสนับสนุนด้านกำลังทหารจากสุลต่านเบงกอล ทหารชาวเบงกอลที่มากับกษัตร์ย์นรเมขลา จึงตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนอาระกัน หลังจากนั้น เขายกดินแดนบางส่วนให้สุลต่านเบงกอล และยอมรับอธิปไตยของสุลต่านเบงกอลเหนือดินแดนเหล่านั้น

เพื่อแสดงถึงความเป็นข้าราชบริพานในสุลต่านเบงกอล ราชาอาระกันได้ใช้ชื่อแบบอิสลาม และนำเงินเหรียญอิสลามมาใช้ในราชอาณาจักร กษัตริย์นรเมขลา ได้สร้างเหรียญที่มีอักษรพม่าอยู่ด้านหนึ่ง และอักษรเปอเซียอยู่อีกด้านหนึ่ง แต่ความเป็นรัฐทาสของอาระกันต่อเบงกอลเป็นไปในระยะเวลาสั้นๆ หลักจากที่สุลต่าน Jalaluddin Muhammad Shah ตายลงในปี 1433 ผู้สืบทอดของกษัตริย์นรเมขลาก็ตอบแทนด้วยการเข้ายึดเมืองรามูในปี 1437 และจิตะกองในปี 1459 อารกันได้ยึดครองจิตะกองไปจนถึงปี 1666

ประวัติศาสตร์ 'ชาวโรฮิงญา' ทำไม..อยู่พม่าไม่ได้?

ยุคแห่งชัยชนะของพม่า

หลังจากที่พม่าได้ชัยชนะต่ออาระกันในปี 1785 ชาวอาระกันจำนวน 35,000 คนได้หนีเข้าไปในเขตจิตตะกองของบริติชเบงกอลในปี 1799  เพื่อหนีเอาชีวิตรอด และแสวงหาการคุ้มครองจากบริติชอินเดีย ผู้ปกครองพม่าได้ประหารชาวอาระกันนับพันคน และขนย้ายประชากรส่วนที่เหลือ เข้าไปที่ภาคกลางของพม่า ทิ้งอาระกันให้เป็นดินแดนที่แทบจะร้างผู้คนไปจนถึงช่วงที่อังกฤษเข้ามายึดครอง ในระหว่างนั้น มีฑูตคนหนึ่งชื่อ  Sir Henry Yule พบเห็นชาวมุสลิมจำนวนมาก ทำงานรับใช้ราชวงศ์พม่าในฐานะขันที และขันทีมุสลิมเหล่านี้ มาจากอาระกัน

ยุคการปกครองของจักรวรรดิ์อังกฤษ

อังกฤษได้ส่งเสริมให้ชาวเบงกอลที่อยู่ในดินแดนใกล้เคียง อพยพเข้าไปตั้งรกรากในดินแดนอาระกัน ในฐานะผู้ใช้แรงงานในฟาร์ม อังกฤษได้ยกเลิกเขตแดนระหว่างเบงกอลและ อาระกัน ทำให้มีไม่ข้อจำกัดในการอพยพระหว่างดินแดน ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ชาวเบงกอลนัพพัน จากจิตตะกอง ได้เข้ามาตั้งรกรากในอาระกันและหางานทำ 

สำมะโนประชากรของอังกฤษปี 1871 รายงานว่ามีมุสลิมอยู่ 58,255 คนในยะไข่ และในปี 1911 จำนวนมุสลิมได้เพิ่มขึ้นเป็น 178,647 คน คลื่นของผู้อพยพพากันหลั่งไหลเข้ามาตามความต้องการแรงงานราคาถูกในกิจการข้าวเปลือกของบริติชอินเดีย ผู้อพยพจากเบงกอล ซึ่งส่วนใหญ่ มาจากจิตตะกอง หลั่งไหลกันเข้ามาสู่เมืองทางตะวันตกของอาระกัน การอพยพของขาวอินเดีย(ในขณะนั้น) เข้าสู่พม่า ได้กลายเป็นปรากฎการณ์ระดับชาติของพม่า ไม่ใช่แค่ในอาระกัน

นักประวัติศาสตร์บันทึกว่า ในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ชาวอินเดียเข้าไปตั้งรกรากในพม่าไม่ต่ำกว่า 250,000 คนต่อปี จำนวนผู้อพยพได้เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนถึงจุดสุดยอดในปี 1927 ซึ่งมีจำนวนผู้อพยพสูงถึง 480,000 คน ย่างกุ้งได้แซงหน้านิวยอร์คในการเป็นปลายทางของผู้อพยพสูงสุดในโลก เมืองใหญ่หลายเมืองของพม่าอย่าง ย่างกุ้ง,ยะไข่, Bassein,Moulmein ผู้อพยพชาวอินเดีย กลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ ชาวพม่าต้องตกอยู่ในความสิ้นหวัง

ผลกระทบของการย้ายถิ่นฐานมีความรุนแรงโดยเฉพาะในอาระกัน ในปี 1939 เจ้าหน้าที่ของอังกฤษได้แจ้งเตือนถึงความเป็นปรปักษ์กันระหว่างชาวอาระกันพื้นเมืองที่นับถือพุทธ กับผู้อพยพชาวมุสลิม และจัดตั้งคณะกรรมการนำโดย James Ester และ Tin Tut เพื่อศึกษาประเด็นการอพยพของมุสลิมเข้ามาในอาระกัน คณะกรรมการได้ให้คำแนะนำให้เพิ่มการรักษาความปลอดภัยระหว่างเขตแดนของทั้งสองกลุ่ม อย่างไรก็ดีผลของสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้อังกฤษต้องถอนกำลังออกจากอาระกัน

ประวัติศาสตร์ 'ชาวโรฮิงญา' ทำไม..อยู่พม่าไม่ได้?
 

ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพญี่ปุ่นได้บุกเข้าสู่พม่า ทำให้กองกำลังของอังกฤษต้องถอนกำลังไป และหมดอำนาจในดินแดนอาระกัน ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นระหว่าง ชาวอาระกันพื้นเมือง กับชุมชนมุสลิม อังกฤษได้มอบอาวุธให้กับมุสลิมโรฮิงญาทางตอนเหนือของอาระกัน เพื่อสร้างแนวป้องกันการบุกของกองทัพญี่ปุ่น  ในขณะที่ตัวเองกำลังหนีตาย แต่ชาวมุสลิมกลับใช้อาวุธนั้นเข้าทำลายหมู่บ้านของชาวอาระกัน แทนที่จะนำไปต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น 

ในเดือนมีนาคม 1942 ชาวโรฮิงญาจากตอนเหนือของอาระกัน สังหารชาวอาระกันพื้นเมืองไปราว 20,000 คน และเพื่อตอบโต้ มุสลิมในเมือง Minbya และ Mrohaung จึงถูกชาวอาระกัน และ Karenni ฆ่าไปประมาณ 5,000 คน ในระหว่างนั้น กองทัพญี่ปุ่นได้กระทำการฆ่า ข่มขืน และทรมาณชาวมุสลิมในอาระกัน ทำให้มุสลิมอาระกันราวๆ 22,000 ต้องหลบหนีข้ามพรมแดนไปเบงกอล นอกจากนี้ความรุนแรงยังไม่ได้จำกัดอยู่แค่มุสลิมในอาระกันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงชาวอินเดีย และอังกฤษ ที่เข้ามาพำนักในช่วง ที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ

เพื่อเตรียมการบุกกลับเข้าสู่พม่า อังกฤษได้จัดตั้งกองกำลังทหารอาสา (V-Force) กับชาวโรฮิงญา ในช่วงสามปีที่อังกฤษสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่น กองกำลังโรฮิงญามุ่งโจมตีชุมชนชาวอาระกัน ใช้อาวุธที่ได้รับจากอังกฤษ เข้าทำลายวัดพุทธ โบสถ์วิหาร เจดีย์ และบ้านเรือนชาวอาระกันอย่างโหดเหี้ยม

ยุคจลาจลหลังสงครามโลก

ในระหว่างที่ปากีสถาน กำลังต่อสู้ทางการเมืองเพื่อแยกตัวออกจากอินเดีย ในปี 1940 มุสลิมโรฮิงญา ได้ก่อตั้งองค์กรเคลื่อนไหวเพื่อแยกดินแดน ไปรวมกับปากีสถานตะวันออก ก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราชในปี 1948 ผู้นำมุสลิมได้ติดต่อกับ  โมฮัมหมัด อาลี จินนาร์ ผู้ก่อตั้งปากีสถาน และขอความช่วยเหลือในการรวบรวมดินแดน Mayu เข้ากับ ปากีสถาน โดยอ้างความเข้ากันได้ทางศาสนาและสภาพตามภูมิศาสตร์ สองเดือนต่อมา กลุ่มสันนิบาตมุสลิมอาระกันตอนเหนือก็ถูกจัดตั้งขึ้นในเมืองหลวงของยะไข่  โดยมีเป้าหมายจะรวมดินแดนกับปากีสถาน แต่ข้อเสนอนี้ก็ไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมเพราะผู้นำปากีสถานปฏิเสธ และกล่าวว่าเขาจะไม่แทรกแซงกิจการภายในของพม่า

หลังจากที่ถูกผู้นำปากีสถานปฏิเสธ ผู้อาวุโสของโรฮิงญา ได้ก่อตั้งกลุ่มนักรบมูจาฮีดีน เพื่อดำเนินการจีฮัดในพื้นที่ตอนเหนือของอาระกันในปี 1947 เป้าหมายของกลุ่มมูจาฮีดีน คือการสร้างรัฐอิสลามอิสระขึ้นในอาระกัน ในช่วงปี 1950s พวกเขาเริ่มใช้คำเรียกตัวเองว่า “โรฮิงญา” เพื่อสร้างอัตลักษณ์สำหรับอ้างสิทธิ์เหนือดินแดน  ขบวนการของพวกเขามีความก้าวหน้ามากในช่วงก่อนปี 1962 ที่จะมีการปฏิวัติโดยนายพลเนวิน เนวินได้ใช้ปฏิบัติการทางทหารต่อต้านโรฮิงญาตลอดสองทศวรรต  ส่งผลให้มุสลิมในพื้นที่ต้องหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังคลาเทศในฐานะผู้ลี้ภัยสงคราม 

ประวัติศาสตร์ 'ชาวโรฮิงญา' ทำไม..อยู่พม่าไม่ได้? 

ยุคหลังได้รับเอกราช และสงครามกลางเมืองบังคลาเทศ

จำนวนของผู้อพยพจากบังคลาเทศ หลังจากที่พม่าได้รับเอกราช ยังไม่แน่ชัดและเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ 

ในปี 1955 มีการศึกษาที่ตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ผู้เขียนคือ Virginia Thompson and Richard Adloff ได้เขียนว่า “การอพยพหลังสงครามจากจิตตะกอง เข้าไปดินแดนนั้น เกิดขึ้นในระดับใหญ่มาก ในพื้นที่ Maungdaw and Buthidaung พวกเขาได้เข้าแทนที่ชาวอาระกัน”

ในระหว่างปี 1971 ถึง 1973 ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในบังคลาเทศ ประกอบกับการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ทำให้เกิดการอพยพของมุสลิมเบงกาลีราวๆ 10 ล้านคน เข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ผู้ลี้ภัยจำนวนมากได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของยะไข่ 
 

ในปี 1975 บังคลาเทศได้ส่งทูตไปเจรจากับพม่า เพื่อขอร้องให้พม่าอย่าขับไล่ ผู้บุกรุก 500,000 คนในอาระกันในระหว่างที่การเมืองภายในบังคลาเทศกำลังวุ่นวาย ในขณะที่กลุ่มพระสงฆ์ก็ออกมาประท้วงรัฐบาลโดยชูประเด็นว่าการอพยพของมุสลิมบังคลาเทศเข้ามาจะทำให้สัดส่วนประชากรเปลี่ยนแปลงไป นายพลเนวินได้ร้องขอสหประชาชาติเพื่อส่งคืนผู้ลี้ภัย และใช้กำลังทหารขับดันผู้อพยพ 200,000 คนกลับบังคลาเทศในปี 1978 บังคลาเทศประท้วงรัฐบาลพม่าและกล่าวหาว่า ได้ใช้กำลังขับไล่ประชากรมุสลิมพม่านับพันเข้าสู่บังคลาเทศ รัฐบาลพม่าตอบกลับว่าคนเหล่านั้นเป็นประชากรของบังคลาเทศ ที่เข้ามาอาศัยในพม่าอย่างผิดกฎหมาย หลังจากการเจรจาในเวทีสหประชาชาติ นายพลเนวินตกลงรับผุ้ลี้ภัยจำนวน 200,000 คน กลับมาพำนักในอาระกัน ในปี 1982 รัฐบาลบังคลาเทศได้แก้ไขกฏหมายพลเมืองและประกาศว่า “โรฮิงญา” ทั้งหมด ไม่ใช่คนสัญชาติบังคลาเทศ และในปีเดียวกัน รัฐบาลพม่าก็ตรากฎหมายพลเมืองและประกาศว่า “ชาวเบงกาลี” เป็นชาวต่างชาติ

 

ประวัติศาสตร์ 'ชาวโรฮิงญา' ทำไม..อยู่พม่าไม่ได้?

 

ความเคลื่อนไหวของโรฮินจาในปัจจุบัน (1990-ปัจจุบัน)

ตั้งแต่ปี 1990 ความเคลื่อนไหวของโรฮิงญาแตกต่างจากในยุค 1950 ที่ใช้กองกำลังติดอาวุธก่อกบฏ การดำเนินการในยุคใหม่มุ่งเน้นการล็อบบี้ต่างชาติ โดยชาวโรฮิงญาที่หลบหนีออกมาได้ มีการสร้างเรื่องชนพื้นเมืองโรฮิงญา โดยนักวิชาการโรฮิงญา และเผยแพร่คำว่า “โรฮิงญา” และใช้นักการเมืองปฏิเสธถิ่นกำเนิดในเบงกาลี นักวิชาการโรฮิงญาอ้างว่า ยะไข่เคยเป็นรัฐอิสลามมานับพันปี หรือมีกษัตริย์มุสลิมปกครองยะไข่เป็นเวลา 350 ปี สมาชิกสภาชาวโรฮิงญายังเคยกล่าวว่า “โรฮินจาอยู่ฮาศัยในยะไข่มาตั้งแต่ยุคที่พระเจ้าสร้างโลก อาระกันเป็นของเรา และมันเคยตกเป็นดินแดนของอินเดียมา 1,000 ปี” พวกเขามักจะย้อยรอยถิ่นกำเนิดของโรฮิงญาไปถึงนักเดินเรือชาวอาหรับ  แต่การกล่าวอ้างนี้ถูกปฏิเสธในวงวิชาการว่าเป็น “นิทานที่แต่งขึ้นใหม่” นักการเมืองโรฮิงญาบางคนใช้วิธีการตราหน้านักประวัติศาสตร์นานาชาติว่า เข้าข้างชาวยะไข่ เพื่อปฏิเสธประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานอ้างอิง แม้กระนั้น เรื่องนี้ก็แพร่กระจายไปในวงกว้างหลังการจลาจลในปี 2012

 

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:  pantip.com
ภาพจาก: อินเทอร์เน็ต

 

ที่มาของเนื้อหา : news.muslimthaipost.com