
มัสยิดแดงในศรีลังกา มัสยิดที่มีหออะซานถึง 49 หอ
หากมีโอกาสผ่านทะลุถนน Second Cross หรือใช้ถนน Main Street เพื่อให้ไปถึงในบริเวณนี้
สายตาทุกคู่จะต้องสะดุดที่มัสยิดสีแดงที่ซ่อนตัวอยู่ ณ ที่นี้ โดยเฉพาะสิ่งที่ดึงดูดสายตา
คือ หออะซานขนาดเล็ก เรียงซับซ้อนกันด้านบน ถึง 49 หอ
มัสยิดสีแดงแห่งนี้ มีชื่อเป็นทางการว่า มัสยิดอัล ญามิอุ้ล อัลฟาร์ (Al Masjid al Jamiul Alfar)
มีชื่อเสียงในฐานะเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม และเป็นอัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมของมุสลิมและชาวศรีลังกาทั้งมวล
โดยมีการออกแบบให้มีสีตัดกันของสีแดง-ขาว เพื่อกระตุ้นให้เป็นจุดดึงดูดสายตาผู้คนให้ต้องหยุดยืนมอง
และชื่นชมความงามของตัวอาคาร ทั้งนี้ เป็นความพยายาม
และตัวอย่างของการอุทิศให้โดยบรรดาวิศวกรที่คิดสร้างสรรค์มัสยิดที่งดงามนี้
คนท้องถิ่นศรีลังกาเรียกมัสยิดสีแดงในภาษาสิงหล ว่า Rathu Pallyia หรือถ้าเป็นภาษาทมิฬ
ก็จะเรียกว่า Samankottai Palli แต่มัสยิดสีแดงนี้ไม่ได้เป็นมัสยิดหลักของกรุงโคลอมโบ
ในทุกวันศุกร์ ชาวมุสลิมศรีลังกาจะมารวมตัวกันเป็นจำนวนหลายร้อยคนเพื่อละหมาดญุมอัต
ในสมัยที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ทางการจะประเมินผลผลิตทางเศรษฐกิจจากการค้าขายของพ่อค้าชาวมุสลิมศรีลังกาด้วย
ดังนั้น พ่อค้าจึงมักรวบรวมเงินเพื่อสร้างมัสยิดไว้ใกล้ ๆ สถานที่ค้าขาย เพื่อมิให้เสียเวลาในการเดินทางไปละหมาด
ที่ดินมีมูลค่า 500 รูปี ซึ่งพวกเขาก็ช่วยกันบริจาค และร่วมกันสร้างองค์กรเพื่อร่วมกันบริหารมัสยิด
ทางผู้บริหารทรัสต์มอบหมายให้ HL Saibo Lebbe ซึ่งมีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จในการสร้างมัสยิดหลายแห่ง
ให้เป็นผู้สร้างมัสยิดแห่งนี้ เขาเริ่มทำงานในปี 1908 โดยสร้างมัสยิดเป็นอาคาร 2 ชั้น
พร้อมโดมและหอนาฬิกาที่มีสถาปัตยกรรมแบบอินโด-ซาราเซ็น โดยตัวนาฬิกานำมาจากประเทศยูเครน
มัสยิดแห่งนี้มีหออะซานถึง 49 หอ ส่วนหนึ่งเป็นหอเล็ก ๆ ขนาดย่อส่วน ที่ประดับอยู่รอบ ๆ ดาดฟ้า
ภายในมัสยิดปูด้วยพรมที่มีลวดลายแบบเปอร์เซียโบราณ
ซึ่งลวดลายแบบโบราณที่น่าทึ่งของพรมเปอร์เซียนี้สื่อความหมายถึงเมืองโบราณของพวกเขาด้วย
ที่มา :มุสลิมไทยโพสต์
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " มัสยิดแดงในศรีลังกา มัสยิดที่มีหออะซานถึง 49 หอ "