ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

มัสยิดต้นสน (กุฎีใหญ่) ชุมชน-มัสยิดเก่าแก่ราว 400 ปี

14 พ.ย. 2021
564

มัสยิดต้นสน​”กะฎีใหญ่/ มัสยิดญาเมี๊ยะแห่งเมืองบางกอก” ชุมชน-มัสยิดเก่าแก่ราว 400 ปี

มัสยิดต้นสน
ประวัติของมัสยิดต้นสนมีมาประมาณ 300 ถึง 400 ปี ได้มีการอ่านพบในสมุดข่อยโบราณ บันทึกข้อความไว้ว่า
” เจียมลูกพ่อเดช มันถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารของพระเจ้าทรงธรรมที่กรุงศรีอยุธยา อุตส่าห์ส่งผ้าโสร่งตาหมากรุกมาให้พ่อของมันถึงบางกอกใหญ่จนได้ ”
กำปงมุสลิมมีบ้านเรือนรวมกันอยู่ในลำคลองบางกอกใหญ่ ทั้งที่มีบ้านเรือนบนฝั่งและที่เป็นเรือนแพสมัยสมเด็จพระบรมราชาที่หนึ่ง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งครองราชสมบัติอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2145 ถึง 2170 นับจากนี้ก็ประมาณ 400 ปี ซึ่งขณะนั้นประเทศสยามหรือประเทศไทยเรามีมุสลิมภาคกลางน้อยมาก เท่าที่สืบทราบเรา เป็นชาวไทยที่ไม่ได้อพยพมาจากใต้ แต่อาจจะได้รับศาสนาอิสลามมาจากข้าราชการมุสลิมใน สมัยพระนารายณ์มหาราชซึ่งมีเชื้อสายมาจากอิหร่านหรือเปอร์เซีย

มีผู้หลักผู้ใหญ่ของเราชาวมัสยิดต้นสนเล่าต่อ ๆ กันมาให้ฟังว่า เมื่อครั้งที่ท่านเจ้าประคุณตะเกี๋ย เดินทางมาจากอินเดียโดยเรือสำเภาแล่นเรือเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อแรือแล่นใบมาถึงปากคลองบางกอกใหญ่ได้ทราบว่ามีบ้านเรือนมุสลิมอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ท่านก็แวะลงเยื่อมเยือน แต่ท่านเจ้าคุณเห็นว่าย่านนี้ยังไม่เหมาะสำหรับท่าน ท่านจึงแล่นเรือขึ้นเหนือต่อไปเพื่อเดินทางไปยังกรุงศรีอยุธยา และท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระราชทานที่ดินแปลงใหญ่ให้ที่ชานเมืองกรุงศรีอยุธยา ท่านจึงพำนักเผยแพร่อิสลามอยู่ ณ สถานที่นั้น

สมเด็จพระนารายณ์ทหาราชครองราชสมบัติ อยู่ในระหว่างปี พ.ศ. 2199 ปี พ.ศ. 2225

ประวัติของมัสยิดต้นสนจึงมีอายุประมาณ 400 ปี เริ่มแรกมุสลิมในย่านนี้อุทิศที่ดิน ประมาณสองหรือสามงานเพื่อสร้างมัสยิด และผู้คนในย่านนี้ต่างเรื่ยรายกัน ได้เสียสละบริจาทเงิน เพื่อสร้างมัสยิด เป็นเรือนไม้ใต้ถุนยกสูง ฝาไม้ขัดแตะ หลังคากระเบื้อง และได้มีผู้อุทิศที่ดินเพิ่มเติมอีกเพื่อทำเป็นกุบุร ตั้งแต่ชายคลองขึ้นมา
ต่อมาก็ได้ขยายบริเวณและตัวมัสยิดออกไปเรื่อย ๆ เพราะจำนวนผู้คนมาร่วมละหมาดมากขึ้นทุกที รูปร่างมัสยิดคล้ายกุฎิ ตามแบบคนไทยในศาสนาพุทธ เรียกกันว่า กุฎีใหญ่ หรือ กุฎีต้นสน ฝั่งตรงข้ามก็มีมัสยิดอีก เรียกว่า กุฎีขาว ลึกเข้าไปอีกก็มีกุฎีเขียว เพราะในยุคนั้นมีมุสลิมอาศัยอยู่มากตั้งแต่ปากคลองทั้งสองฝั่งเข้าไปถึงตลาดพลู มีทั้งบ้านเรือนบนฝั่งและเป็นเรือนแพริมคลองสองฟากฝั่ง ซึ่งเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยด้วย เป็นเรือนทำการค้าขายด้วย ซึ่งการค้าขายในยุคนั้นใช้เรือเป็นพาหนะ

ในยุคที่กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัตใกล้จะถูกพม่าตีแตก ในกรุงศรีอยุธยามีชาวไทยมุสลิมตั้งบ้านเรือนอยู่ชายแม่น้ำเจ้าพระยาชานกรุงมากมาย ทั้งเรือนบนฝั่ง และเรือนแพ มีข้าราชการมุสลิม พ่อค้า ทหารมุสลิมรับราชการอยู่มาก ต่างก็ได้อพยพ ถอยเรือนแพลอยลงมารวมกันอยู่ที่คลองบางกอกใหญ่ และคลองบางกอกน้อยมากมาย จึงทำให้ผู้คนมารวมกันละหมาดที่กุฎีใหญ่ หรือ กุฎีต้นสนมากขึ้น จนกระทั่งเรือนมัสยิดไม่พอที่จะรองรับในการละหมาดยะมาอะห์ตามปรกติหรือละหมาดในวันศุกร์ได้พอเพียง

เมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเข้ายึดและเผาทำลายบ้านเมือง วัดวาอาราม มัสยิด ตลอดจนเข้าปล้นทรัพย์สินเผาพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ได้รวบรวมผู้คน และทหารไปเตรียมความพร้อมอยู่ที่เมืองจันทบุรี และยกกองทัพมากู้เอกราชสำเร็จ ซึ่งในกองทัพกู้เอกราชครั้งนั้นมีนายทหาร และพลทหารทุสลิมร่วมกองทัพอยู่ด้วยจำนวนมาก มีพ่อค้า ข้าราชการชาวไทยมุสลิมร่วมให้การช่วยเหลือทรัพย์สินเพื่อการกอบกู้เอกราชในครั้งนั้นด้วย ใน พ.ศ. 2311 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินกอบกู้เอกราชสำเร็จ ได้ตั้งกรุงธนบุรีขึ้นเป็น

ราชธานี กรุงธนบุรีตั้งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ ใกล้ ๆ มัสยิดต้นสน หรือ กุฎีใหญ่ ที่เรียกกันว่าพระราชวังเดิม เมื่อพระราชวังสถานที่ประทับและสถานที่ราชการมาอยู่ใกล้ กุฎีใหญ่ หรือมัสยิดต้นสน และบรรดาข้าราชการ พ่อค้า ทหาร แม่ทัพนายกองชาวไทยมุสลิมที่อยู่ใกล้ชิดสนองพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสิน มารับราชการอยู่ ใกล้มัสยิดต้นสน ก็ได้ทำให้กุฎีต้นสนมีผู้มามาประกอบพิธีกรรมทางศาสนามากมายขึ้น จนกลายเป็นมัสยิดศูนย์กลางของศาสนาอิสลามในสมัยนั้น แม่ทัพนายกองมุสลิมชั้นผู้ใหญ่ตัวอย่างเช่น พระยาจักรี พระยายมราช พระยาราชบังสัน ส่วนมากเป็นผู้ที่ติดตามพระเจ้าตากสินออกจากกรุงศรีอยุธยาไปเพื่อไปหาทางกอบกู้เอกราชให้แก่ชาติบ้านเมืองทั้งสิ้น จึงทำให้ชาวไทยมุสลิม ได้รับการวางพระราชหฤทัยจากพระเจ้าตากสินมากมาย

ในยุคสมัยธนบุรีเป็นราชธานี มัสยิดต้นสนเป็นสถานที่รวมบุคคละสำคัญ ๆ มากมาย ในวันศุกร์มีผู้คนมาละหมาดแน่นมัสยิด ในเวลาละหมาดฟัรดูห้าเวลาก็มีไม่น้อย

ในช่วงนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินได้พระราชทานที่ดินหลังบริเวณมัสยิดให้แก่มัสยิดอีกกว้างขวางเพื่อขยายส่วนที่เป็นกุบุร เพราะไม่ว่าข้าราชการ ทหารมุสลิมที่สิ้นชีวิต ก็จะมาทำการฝังที่กุบุร มัสยิดต้นสน

ในช่วงนั้นได้มีการขยายเปลี่ยนแปลงเรือนไม้ของกุฎีต้นสน รื้อเรือนไม้เดิมออก สร้างเป็นอาคารมัสยิดก่ออิฐถือปูน มัสยิดที่สร้างชึ้นใหม่ตัวมัสยิดกว้าง 10 เมตร ยาว 15 เมตรเศษ รูปร่างอาคารมัสยิดสร้างคล้ายศาลาการเปรียญ ลอกแบบอาคารในพระราชวังหลังหนึ่งมาเป็นแบบ ไม่ได้สร้างแบบรูปร่างตัวอาคารมัสยิดแบบอาหรับ ไม่มีโดม ไม่มีเสาบัง แต่มีหน้าจั่ว มีการสลักลวดลายไทยอย่างสวยงามด้วยปูนปั้น โดยอาศัยการเสียสละทั้งแรงกาย แรงใจ และทรัพย์สินในการขยายมัสยิดใหม่ โดยมีรูปร่างของอาคารมัสยิดตามแบบศิลปไทยอย่างแท้จริง

สองข้างอาคารมัสยิดต้นสน ก็มีอาณาบริเวณของวัดหงษ์รัตนารามและวัดโมฬีโลกยาราม ซึ่งเป็นอารามหลวงขนาบสองข้าง แต่เราชาวไทยมุสลิม กับชาวพุทธก็อยู่กันอย่างร่มเย็น ต่างคนก็ต่างนับถือ ศรัทธา ปฏิบัติไปตามลัทธิศาสนาของตนไม่ก้าวก่ายกัน เป็นทหารของกองทัพไทยเคียงบ่าเคียงไหล่กันปกป้องเอกราช
เมื่อมัสยิดสร้างเสร็จ ในครั้งนั้น ที่ท่าน้ำของมัสยิดริมคลองบางกอกใหญ่ ผู้คน และบรรดาทหารได้ใช้เป็นท่าน้ำอาบน้ำชำระร่างกาย ได้มีไม้กระดานใหญ่แผ่นหนึ่งกว้างประมาณ 2 ศอก ยาวประมาณ 4 ศอก ลอยมาติดอยู่ที่ใกล้บริเวณบันไดท่าน้ำ ที่แผ่นกระดานนั้นมีร่องรอยไฟไหม้เป็นบางส่วน เมื่อผู้คนไปจับพลิกขึ้นมาดูก็ปรากฏว่าอีกด้านหนึ่งของแผ่นกระดานนั้นมีการแกะ สลักแผนผังของมัสยิดินฮะรอม และมัสยิดินนบี และมีการแกะสลักโองการแห่งพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน สวยงาม

บรรดาทหารที่เก็บขึ้นมาก็ได้นำเอาไปเสนอแม่ทัพนายกองมุสลิม พวกนายทหารก็ได้นำไปถวายสมเด็จพระเจ้าตากสิน และพระเจ้าตากสินก็ได้มอบให้แก่ผู้ปกครองมัสยิดต้นสน และอิหม่ามในสมัยนั้นก็ได้นำเอามาไว้ในมัสยิด ตกแต่งทาสีให้สวยงาม ที่มีร่องรอยไฟไหม้มานั้นก็คงจะเป็นไม้บนเมิมบัรของมัสยิดใดมัสยิดหนึ่งที่ถูกพม่าเผาทำลายในช่วงเวลาที่กองทัพพม่า ยกมาปล้นกรุงศรีอยุธยา

ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 มัสยิดต้นสนได้มีการตกแต่ง บูรณะขยายต่อเติม ที่หน้าจั่วมีการเสริมช่อฟ้าใบระกา คล้ายอารามหรือศาลาการเปรียญ มีการทำเมี๊ยะห์รอบอิหม่าม และมิมบัร แบบไทยแท้ มีแกะสลัก ฝั่งกระจกสี ลงรักปิดทองคล้ายวัดในศาสนาพุทธ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เสด็จทางชลมารทผ่าน คลองบางกอกใหญ่ เมื่อเสด็จผ่านท่าน้ำของมัสยิด ทรงทอดพระเนตรอาคารมัสยิดต้นสนที่มีรูปร่างอาคารคล้ายวัด มีช่อฟ้าใบระกามีลวดลายที่หน้าจั่วแบบวัดในศาสนาพุทธ ก็ยกพระกรขึ้นประนฌ แล้วตรัสถามข้าราชบริพารที่ตามเสด็จว่า นี่วัดอะไร เมื่อได้รับการกราบทูลว่าเป็น มัสยิดอิสลามจึงได้มีพระกระแสรับสั่งแก่ ท่านหลวงโกชาอิสห็าก (นาโคดาหลี) ซึ่งเป็นมหาดเล็กใกล้ชิดของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไปยกเอาช่อฟ้าแบบวัดออกเสียเพื่อมิให้มีใครเข้าใจผิด

ในยุคนี้บรรดามวลมุสลิมที่ตั้งบ้านเรือนอยู่รายล้อมมัสยิดต้นสน และที่สร้างเป็นเรือนแพในคลองบางกอกใหญ่ทั้งสองฝั่งมีจำนวนมากมาย ที่มีความรู้ด้านศาสนาก็มาก เมื่อมีการอ่าน พระคัมภีร์อัลกุรอ่าน มัสยิดต้นสนมีพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน ที่เขียนขึ้นมาโดยชาวมุสลิมต้นสนมากมายหลายตะมัต ซึ่งเขียนด้วยมืออย่างสวยงามเขียนเป็นเล่ม ๆ เล่มละยุชุอ์ ที่เขียนด้วยความประณีต บรรจง บางตะมัตเขียนกรอบเริ่มซูเราะห์ ฟาติฮะห์ ด้วยลวดลายน้ำทองพร้อมทั้งลงสีอย่างวิจิตรบรรจงสวยงามเป็นที่สุด แต่ละตะมัตมีหีบไม้สักบ้าง หีบลงรักฝังมุขลายไทยบ้างเพื่อเก็บรักษา ซึ่งเป็นความอุตสาหะวิริยะตั้งใจเทิดทูนอัลกุรอ่านที่ไม่มีใครในสมัยนี้ทำได้เหมือน ซึ่งทางผู้ปกครอง อิหม่าม กรรมการมัสยิดในยุคนั้นได้ปกปักษ์รักษาไว้เป็นอย่างดี ซึ่งก็มีบ้างที่ชำรุดเสื่อมไปตามกาลเวลา

ซึ่งมัสยิดต้นสนได้เก็บรักษาไว้อย่างดีเยี่ยม เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้เรารำลึกถึงความศรัทธาของบรรดาบรรพบุรุษของเราที่คนสมัยนี้ไม่มีใครทำได้อย่างท่าน
ในปี พ.ศ. 2489 ในหลวงรัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล ได้ทรงทราบถึงความเป็นมาของมัสยิดต้นสน ซึ่งเป็นมัสยิดที่เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ และได้ทรงทราบถึงประวัติความเป็นมารวมทั้งบรรดาแม่ทัพนายกองมุสลิม ข้าราชกาชมุสลิมหลายท่าน และอดีตท่านจุฬาราชมนตรีที่ปรึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมของ ศาสนาอิสลามขององค์พระมหากษัติรย์ไทยหลายรัชกาล ได้ฝังอยู่ในสุสานของมัสยิดต้นสนเป็นจำนวนมาก จึงมีพระประสงค์ที่จะพระราชทานพระราชวโรกาสเสด็จมาเยี่ยมมัสยิดต้นสนทางชลมารท เพื่อให้มวลมุสลิมได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด

ทางท่านอิหม่ามและกรรมการมัสยิดได้รับทราบพระมหากรุณาธิคุณล่วงหน้าอย่างกระทันหัน มีเวลาเตรียมรับเสด็จล่วงหน้าเพียง 2 วัน
เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าภูมิพลอดุยเดช ซึ่งทรงเป็นพระอนุชาในขณะนั้น ทรงเสด็จเยี่ยม มัสยิดต้นสนเป็นการส่วนพระองค์

ผู้ที่ตามเสด็จในครั้งนี้มี พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นทิพยลาภพิทยากร พร้อมทั้งราชองค์รักษ์และข้าราชบริพาร นายทหาร นายตำรวจ มหาดเล็กรักษาพระองค์ เสด็จทางชลมารท เทียบท่าน้ำ ของมัสยิด ผู้ที่มีเกียรติมาร่วมถวายการรับเสด็จในครั้งนี้ ก็มี ท่านจุฬาราชมนตรี แช่ม พรหมยงค์ ท่านเจ้าคุณมไหสวรรค์ นายกเทศมนตรีนครธนบุรี พร้อมด้วยอิหม่าม คณะกรรมการมัสยิดต้นสน และบรรดามวลพี่น้องมุสลิมชาวมัสยิดต้นสนและพี่น้องมุสลิมในท้องที่อื่น ๆ มาร่วมถวายการรับเสด็จอย่างมากมาย การรับเสด็จเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทางมัสยิดได้มีการบันทึกภาพอันสำคัญนี้ ไว้มากมาย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระอนุชาได้ทรงเสด็จเข้าสู่ภายในมัสยิด และทรงไต่ถามถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่ทรงสนพระทัย และได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมา ที่อาคารเรือนไม้ข้างมัสยิด ซึ่งเป็นที่ตั้งของสมาคมสนธิอิสลามในปัจจุบัน ทางมัสยิดก็ได้ทราบบังคมทูลรับเสด็จและกราบทูลประวัติความเป็นมาของมัสยิด เมื่อถวายรายงานจบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้ทรงมีกระแสพระราชดำรัสตอบ ด้วยพระราชดำรัสที่นำความปลาบปลื้มใจมาให้แก่บรรดาพี่น้องมุสลิมที่ได้มาถวายการรับเสด็จอย่างใกล้ชิดโดยทั่วหน้า

Institute of Islamic Art Thailand – สถาบันศิลปะอิสลามแห่งประเทศไทย