ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันจันทร์, 6 พฤษภาคม 2567

ศาลยุโรปตัดสินเข้าข้างเบลเยียม ประกาศชัด “ไม่ผิดออกกฎห้ามสวมผ้าคลุมศรีษะแบบปิดมิด” เพื่อเสรีภาพคนส่วนใหญ่

เอเจนซีส์ – เมื่อวานนี้(11 ก.ค)ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ECHR ออกำคำตัดสินยืนตามเบลเยียมในกฎหมายห้ามสวมผ้าคลุมศรีษะมุสลิมแบบปิดบังทั้งใบหน้าในที่สาธารณะ โดยอ้างว่า เพื่อปกป้องสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล และเป็นหลักประกันต่อสังคมเบลเยียมใน “การอยู่ร่วมกัน” และ “ประกันสิทธิและเสรีภาพของบุคคลรอบข้าง”

หนังสือพิมพ์ดิอินดีเพนเดนต์ สื่ออังกฤษ รายงานเมื่อวานนี้(11 ก.ค)ว่า คณะผู้พิพากษาออกคำแถลงว่า การประกาศบังคับใช้คำสั่งห้ามทั่วประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี2011นั้นไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและชีวิตครอบครัว และเสรีภาพในการนับถือศาสนา หรือการกีดกันทางกฎหมาย

ทั้งนี้ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ECHR พบว่า เบลเยียมมีสิทธิ์ในการประกาศห้ามเพื่อจุดประสงค์ให้หลักประกันต่อหลักการ “การอยู่ร่วมกัน” และ “ประกันสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น” นั้นสามารถยังคงอยู่ต่อไป

ซึ่งในคำตัดสินได้ระบุว่า รัฐบาลบัสเซลส์จำเป็นต้องออกกฎหมายฉบับนี้เพื่อตอบโต้ต่อ “แบบปฎิบัติ” ที่ทางเบลเยียมเชื่อว่า “ไม่สอดคล้องไปกับสังคมเบลเยียม ที่ให้ความสำคัญกับการติดต่อสัมพันธ์อย่างเปิดกว้างในสังคม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการให้หลักประกันว่า “สังคมประชาธปไตยตามแบบเบลเยียม” จะยังคงเดินหน้าต่อไปได้”

สื่ออังกฤษรายงานว่า ศาล ECHR สั่งยกฟ้อง 2 คดีที่ถูกยื่นเข้ามา

โดยในคดีแรกยื่นฟ้องต่อคำสั่งห้ามสวมผ้าคลุมศรีษะสาวมุสลิมแบบเต็มที่เรียกว่า นิกอบ หรือ บูร์กา ซึ่งผู้ยื่นฟ้องเป็นหญิงมุสลิม 2 คนคือ ซาเมีย เบลคาเซมี(Samia Belcacemi) และยามินา เอาซ์ซาร์(Yamina Oussar)

ทั้งนี้แรกคนทั้งคู่ต้องการให้การประกาศห้ามสวมผ้าคลุมศรีษะในที่สาธารณะทั่วเบลเยียมนั้น ต้องถูกระงับในชั้นศาลรัฐธรรมนูญเบลเยียม

และคนทั้งคู่ยังให้เหตุผลกับศาลถึงผลกระทบในชีวิตประจำวันของเธอทั้งสองหลังมีการบังคับกฎหมายฉบับนี้ออกมา

ซึ่งในส่วนของเบลคาเซมีกล่าวให้ความเห็นว่า ในตอนต้นเธอตั้งใจว่าจะสวมผู้คลุมศรีษะแบบเต็มต่อไป แต่ทว่าเปลี่ยนใจในภายหลัง เพราะเกรงจะถูกจับกุมหรือถูกปรับ ส่วนเอาซ์ซาร์กล่าวยอมรับว่า กฎหมายฉบับดังกล่าวบังคับให้เธอต้องอยู่แต่ภายในบ้านแทน

และนอกจากนี้ สำหรับคดีที่ 2 เป็นคดียื่นฟ้องขอให้กฎหมายที่ถูกบังคับใช้ห้ามสวมผ้าคลุมศรีษะแบบเต็มใน 3 เมืองของเบลเยียมเมื่อปี 2008 โดยดิอินดีเพนเดนต์รายงานว่า เฟาเซีย ดาเคอร์(Fouzia Dakir) เป็นผู้ยื่นเรื่องฟ้อง หลังกฎหมายประกาศห้ามออกมา เกิดขึ้น 3 ปีก่อนหน้าทางบรัสเซลส์จะออกกฎหห้ามสวมนิกอบ หรือบูร์กาทั่วปรเทศ

ซึ่งการห้ามสวมผ้าคลุมศรีษะในปี 2008 นั้นเกิดขึ้นที่เมืองเปปินสเตอร์( Pepinster) เมืองไดซัน( Dison) และเมืองเวอร์เวียร์ส( Verviers)

โดยในคำฟ้องของดาเคอร์อ้างว่า กฎหมายห้ามใน 3 เมืองนี้ ได้ละเมิดสิทธิของเธอที่เลือกจะสวมผ้าคลุมศรีษะนิกอบ ซึ่งถูกคุ้มครองภายใต้ปฎิญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน “โดยไม่จุดมุ่งหมายทางกฎหมาย”

แต่อย่างไรก็ตาม ในคำพิพากษากลับชี้ว่า สิทธิส่วนบุคคล รวมไปถึงเสรีภาพทางศาสนา และหลักประกันการอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันของดาเคอร์ไม่ถูกละเมิด แต่ทว่าทางเบลเยียมได้ละเมิดสิทธิการเข้าสู่กระบวนการทางยุติธรรมของเธอ โยสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของเบลเยียม (Conseil d’État) ออกคำตัดสิน การยื่นฟ้องเพื่อขอให้คำสั่งแบนนั้นไม่สามารถยื่นได้

 


ที่มา:MGR Online