ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันเสาร์, 18 พฤษภาคม 2567

9/11 ถึง แมนเชส เตอร์ กระแสหวาดกลัว “อิสลาม” เรื้อรัง

29 พ.ค. 2017
1963

“อิสลามโมโฟเบีย” (Islamophobia) หรือกระแสความหวาดกลัวอิสลาม กลับมาอีกครั้ง เมื่อโลกต้องเผชิญหน้ากับ “ก่อการร้าย” รูปแบบต่าง ๆ ที่เบื้องหลังมีทั้งรูปแบบที่กลุ่มรัฐอิสลามในอิรัก และซีเรีย หรือ “ไอซิส” อ้างว่าเป็นผู้กระทำ หรือกลุ่มที่อ้างว่าเป็นกลุ่มย่อยของไอซิสเมื่อคืนวันจันทร์ (22 พ.ค.) เกิดเหตุสลดเมื่อมีระเบิดฆ่าตัวตาย หลังคอนเสิร์ตของ “อารีอานา แกรนเด” พ็อปสตาร์ขวัญใจวัยรุ่นทั่วโลกจบลง ณ แมนเชสเตอร์ อารีน่า ประเทศอังกฤษ ส่งผลให้มียอดผู้เสียชีวิตสูงถึง 22 คน เจ็บนับสิบ และหนึ่งในผู้เสียชีวิตคือเด็ก 8 ขวบ ทั่วโลกต่างประณามก่อการร้ายครั้งนี้อย่างรุนแรง นายกรัฐมนตรีหญิง “เทเรซา เมย์” ประกาศยกระดับเตือนภัยก่อการร้ายขึ้นเป็นระดับสูงสุด ซึ่งหมายความว่ามีโอกาสจะเกิดการโจมตีขึ้นซ้ำอีกเร็ว ๆ นี้ โดยส่งกำลังทหารเข้าไปช่วยปกป้องร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจติดอาวุธ

ทั้ง 2 เหตุการณ์สร้างความแตกตื่นไปทั่วโลก และสร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วโลกโซเชียล ซึ่งออกมาเป็นถ้อยคำแง่ลบต่อชาวมุสลิมนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดการก่อการร้ายโดยกลุ่มที่อ้างตัวว่านับถือศาสนาอิสลามย้อนกลับไปเหตุการณ์ “9/11” หรือเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน 2001 ที่ผู้ก่อการร้ายกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงอัลกออิดะ จี้เครื่องบินพุ่งชนกับตึกแฝด เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ในนครนิวยอร์ก อาคารเพนตากอน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่าสามพันคน นับเป็นการก่อการร้ายรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ กระทั่งทำให้กระแสความหวาดกลัวอิสลามโหมกระพือต่อเนื่องเป็นสิบปี จนกระทั่งถึงทุกวันนี้

หรือจะเป็นเหตุการณ์ “ชาร์ลี แอบโด” เมื่อ ม.ค. 2015 ที่มือปืนติดอาวุธสวมหน้ากาก 2 คน บุกสำนักงานชาร์ลี แอบโด นิตยสารล้อเลียนของฝรั่งเศส ในกรุงปารีส ซึ่งมักนำเสนอภาพล้อเลียนพระเจ้าแห่งศาสนาอิสลาม การโจมตีครั้งนั้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 12 คน รวมทั้งบรรณาธิการของนิตยสารการโจมตีชาร์ลี แอบโด สร้างการโต้เถียงอย่างรุนแรง หลายฝ่ายมองว่าเป็นการปะทะกันระหว่างความคิดอนุรักษนิยมและเสรีนิยมอย่างชัดเจน เนื่องจากฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ยึดหลักคุณค่าโลกเสรีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และมองว่าการล้อเลียนศาสนาตั้งอยู่บนสิทธิเสรีภาพ

อย่างไรก็ตาม หลังจากเหตุการณ์นี้ได้กระตุ้นกระแสหวาดกลัวอิสลามครั้งใหญ่เกิดขึ้นไปทั่วโลก เด็กมุสลิมชาวอังกฤษหลายคนถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียน และมีหญิงมุสลิมหลายคนในโลกตะวันตกถูกกดดันจากผู้ร่วมขบวนให้ถอดฮิญาบ หรือผ้าคลุมศีรษะออกกลางรถไฟฟ้าชาวมุสลิมซึ่งถูกมองว่าเป็นพวกหัวเก่า ต้องพยายามปรับตัวอย่างมากในหลายปีที่ผ่านมา อย่างการสวมฮิญาบที่เป็นการแสดงออกของสาวมุสลิม เมื่อพวกเธอใช้ชีวิตอยู่ในประเทศเสรีตะวันตก ก็ต้องมีการออกแบบให้ทันสมัยขึ้น เพื่อให้พวกเธอสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ โดยหวังว่าคนรอบข้างจะจ้องมองหรือตั้งคำถามต่อความเชื่อน้อยลง อย่างกรณีดีไซเนอร์สาว “อิมาม อัลเดบ” หญิงมุสลิมชาวสวีเดนที่เคยถูกปฏิเสธงานจากการคลุมฮิญาบ ทำให้อัลเดบตัดสินใจดีไซน์ฮิญาบแบบใหม่ที่ทันสมัยมากขึ้น เป็นรูปแบบ “เทอร์บัน” หรือการโพกหัวแบบแอฟริกา ซึ่งได้กลายเป็นที่นิยมในกลุ่มสาวมุสลิม รวมถึงผู้หญิงทั่วไป และทำให้เธอได้งานในที่สุด ซึ่งนี่คือหนึ่งในความพยายามเพื่อประนีประนอมต่อความคิดที่แตกต่าง ภายหลังกระแสหวาดกลัวมุสลิมที่เกิดขึ้นอย่างไรก็ตาม ความพยายามดังกล่าวก็อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นแค่เป็นการ “ต่อรอง” ทางความคิดเท่านั้น ขณะที่ 2 เหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นในอังกฤษ และฟิลิปปินส์ แม้จะทำให้ทั่วโลกต้องยกระดับความปลอดภัยต่อสถานการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะคอนเสิร์ตใหญ่ของ “บริตนีย์ สเปียร์ส”  ที่จะเปิดการแสดงไปทั่วโลกในไม่กี่เดือนที่จะถึงนี้ แต่ก็เป็นเพียงแค่การแก้ปัญหาที่ “ปลายเหตุ” ที่ไม่รู้ว่าการโจมตีจะเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่ และอาจจะเป็นเร็ววันนี้ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์www.facebook.com/PrachachatOnlineทวิตเตอร์ @prachachatติดตามอ่านข่าวสารจากประชาชาติออนไลน์