ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันเสาร์, 27 เมษายน 2567

UNHCR แฉ “โรฮิงญา” ต้องดื่มน้ำส้วมในค่ายกักกันมาเลเซีย

17 พ.ค. 2017
2617

 

เอเจนซีส์ – UNHCR รายงานล่าสุด ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยถูกรัฐบาลมาเลเซียขังภายในสถานกักกันที่มีสภาพแออัด สกปรก และถูกทำร้าย มีผู้ลี้ภัยจำนวนไม่ต่ำกว่า 24 ราย ต้องจบชีวิตนับตั้งแต่ปี 2015 หนึ่งในโรฮิงญาเผย ผู้ลี้ภัยต้องดื่มน้ำจากส้วมประทังชีวิต

สื่อเอเชียนคอร์เรสปอนเดนต์ รายงานวันนี้(16 พ.ค)ว่า “พวกเขาให้แค่น้ำถ้วยเล็กๆพร้อมอาหารแก่พวกเรา หรือไม่เราต้องดื่มน้ำจากโถส้วมแทน” ผู้อพยพหญิงชาวโรฮิงญาวัย 18 ปีได้เปิดเผยกับเดอะการ์เดียน สื่ออังกฤษ และกล่าวต่อว่า “แต่เมื่อเวลาที่จะตายเท่านั้นที่พวกยามจะมา หรือหากเวลาที่พวกเราบ่น หรือร้องขอไปโรงพยาบาล เราจะถูกเฆี่ยนตี”

ทั้งนี้คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนมาเลเซีย (Suhakam) รายงานว่า สภาพความเป็นอยู่ของผู้อพยพในเรือนจำนั้น “ดูคล้ายจะถูกทรมาน” ในขณะที่ผู้ที่อยู่ในเรือนจำเหล่านี้ถูกปฎิเสธที่จะได้รับอาหารอย่างพอเพียง น้ำ และการรักษาพยาบาล

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ UNHCR เปิดเผยกับเดอะการ์เดียนว่า 24 คน ที่ส่วนใหญ่มีสัญชาติพม่า เสียชีวิตในค่ายกักกันตั้งแต่ปี 2015

“การเสียชีวิตพวกนี้สามารถป้องกันได้อย่างแน่นอน” ซีอีโอกลุ่ม 45 สิทธิอามี สมิท(Fortify Rights Amy Smith) กล่าว และเสริมต่อว่า “การแก้ไขนั้นง่ายมาก แค่เพียงรัฐบาลมาเลเซียเลิกปฎิบัติกับผู้ลี้ภัยเสมือนนักโทษอุกฉกรรจ์”

สื่อเอเชียนคอร์เรสปอนเดนต์ระบุว่า รอยเตอร์ได้รายงานถึงยอดเสียชีวิตในเดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่า อ้างจากรายงานของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนมาเลเซีย ที่อ้างไปถึงการเสียชีวิต 83 คนในปี 2015 และอย่างน้อย 35 คนในปี 2016

“ตัวเลขนั้นสูงและน่าตกใจ และทางหน่วยงานได้เรียกร้องให้มีการปรับปรุงทั้งระบบ” เจรัลด์ โจเซฟ(Jerald Joseph ) ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนมาเลเซียกล่าว

มีกลุ่มคนจำนวน 246,270 คนที่อยู่ในความกังวลของทางUNHCR ในมาเลเซีย และจากทั้งหมดราว 150,000  คนเป็นผู้ขอลี้ภัยและผู้อพยพ

ส่วนใหญ่คือโรฮิงญา พลเมืองมุสลิมในพม่าที่หนีจากการทำร้ายและการสังหารของกลุ่มชาตินิยมชาวพุทธและกองทัพพม่า พบว่ามีจำนวนมากต้องอยู่ในมาเลเซียจำนวนหลายสิบปี

ทั้งนี้มาเลเซียไม่ได้เข้าร่วมในอนุสัญญาว่าด้วยผู้อพยพปี 1951 ผู้ยื่นขอลี้ภัย และผุ้อพยพ ต่างถูกปฎิเสธสิทธิพื้นฐานในการศึกษา สุขภาพ และการจ้างงาน

และพบว่า บรรดาผู้ลี้ภัยต้องทำงานอย่างผิดกฎหมายประเภท คนทำความสะอาด คนงานก่อสร้างในโรงพยาบาล การละเมิดสิทธิแรงงาน ยังรวมไปถึง การปฎิเสธให้ค่าจ้าง ซึ่งมีรายงานออกไปอย่างแพร่หลาย

ในปลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลมาเลเซียประกาศโครงการนำร่อง ในการเป็นพันธมิตรร่วมกับ UNHCR ในการอนุญาตให้ผู้อพยพโรฮิงญาจำนวน 300 คนสามารถทำงานได้ โดยมีการชื่นชมจากจำนวนมากในฐานะเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่สิทธิของผู้อพยพและผู้ลี้ภัยที่นั่น

อย่างไรก็ตาม “ไม่ว่าโครงการนำร่องนี้จะถูกแปลให้เป็นสิ่งที่มีความหมายมากกว่า เช่นสิทธิของคนงานสำหรับผู้ลี้ภัยทั้งหมดที่ได้ลงทะเบียนกับUNHCR การเข้าถึงที่ดีกว่าทางการแพทย์ การศึกษากับเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี ไม่ต่ำกว่า  30,000 คน และการถูกกีดกันน้อยลงจากเจ้าหน้าที่ ยังคงถูกพบเห็น” ดร. เกอร์ฮาร์ด ฮอฟสเตดตอร์( Dr Gerhard Hoffstaedter) จากมหาวิทยาลัยรัฐควีนสแลนด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้อพยพในมาเลเซีย

ที่มา:MGR Online