ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันอังคาร, 14 พฤษภาคม 2567

ยะไข่ตั้งแถวไล่ โคฟี่ อันนัน ปัดร่วมมือสอบเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮิงญา

t1973

ยะไข่ตั้งแถวไล่ โคฟี่ อันนัน ปัดร่วมมือสอบเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โรฮิงญา 

ชาวยะไข่มาคอยประท้วงขับไล่นายโคฟี่ อันนันในการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงหลังนานาชาติระบุว่ามีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวโรฮิงญาเกิดขึ้นในพื้นที่ พร้อมปฎิเสธให้ความร่วมมือกับการตรวจสอบลั่นจะไม่ร่วมการสอบสวนใดๆ ที่ไม่ยอมเรียกชาวโรฮิงญาว่า แบงกาลี

World Bulletin รายงานว่า เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาคณะกรรมการที่ปรึกษาการแก้ปัญหารัฐยะไข่ นำโดยนายโคฟี่ อันนัน ประธานคณะ ได้เดินทางลงพื้นที่รัฐยะไข่ แต่ต้องพบกับการต้อนรับด้วยการประท้วงของชาวยะไข่ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาประท้วงที่สนามบินเมืองสิตเว และตลอดถนนที่เชื่อมต่อระหว่างสนามบิน กับที่ทำการรัฐบาลท้องถิ่น

“ไม่เอาคณะกรรมการชุดโคฟี อันนัน” หนึ่งในข้อความที่ผู้ประท้วงถือ และยังมีการร้องตะโกนว่า “เราไม่ต้องการคณะกรรมการของโคฟี อันนัน”

ในระหว่างการเยือนค่ายรอบพื้นที่เมืองสิตเว คณะกรรมการชุดนี้มีกำหนดจะพบผู้นำของทั้งชุมชนชาวพุทธยะไข่ และผู้นำชุมชนโรฮิงญามุสลิมในความพยายามที่ตรวจสอบเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วง 6 สัปดาห์ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตระหว่าง 86 และ 400 คน

กลุ่มชาวพุทธยะไข่ที่ออกมารวมตัวประท้วงได้ปฏิเสธที่จะพบกับคณะกรรมการของนายอันนัน โดยอ้างว่า อันนัน และสมาชิกของกรรมการชุดนี้ยังคงใช้คำว่าโรฮิงญาในการเรียกกลุ่มชาวโรฮิงญาที่พวกเขาพยายามยัดเยียกให้เป็นแบงกาลี

“เราจะไม่ประชุมหรือหารือกับคณะกรรมการตราบเท่าที่มันหรือคนหนึ่งคนใดในสมาชิกคณะกรรมการยังคงใช้คำว่าโรฮิงญาสำหรับเรียกชาวแบงกาลี” เครือข่ายผู้ร่วมชุมนุมที่ระบุว่ามาจาก 74 กลุ่มในพื้นที่อ่านแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์

ในกฎหมายของพม่าในปี 1982 ได้ปฏิเสธสถานะของโรฮิงญา แม้ว่าพวกเขาอาศัยอยู่ในพม่ามาหลายชั่วอายุคน ส่งผลให้พวกเขากลายเป็นคนไร้สัญชาติ ทั้งที่มีบ้านเกิดเมืองนอนอยู่ในพม่า

ชาวโรฮิงญาราว 1.2 ล้านคนอาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ โดยไม่ได้รับสิทธิในการทำงาน การเรียน การบริการด้านสุขภาพ จากรัฐบาลพม่า

การดำเนินการของรัฐบาลพม่าต่อชาวโรฮิงญาอย่างรุนแรง ทำให้สหประชาชาติระบุว่าชาวโรฮิงญาเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกข่มเหงมากที่สุดในโลก

Than Tun โฆษกเครือข่ายให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Anadolu เมื่อวันศุกร์(2)ที่ผ่านมาว่า คณะกรรมการควรหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำ(โรฮิงญา)ของพวกเขาถ้าพวกเขาต้องการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง เพราะมันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับที่นี่

“พวกเขาจะไม่ยอมเรียกว่า “แบงกาลี” ดังนั้นพวกเขาไม่ควรใช้คำว่า “โรฮิงญา”” เขากล่าวทางโทรศัพท์

คณะกรรมาธิการได้พบกับผู้นำชุมชนวันศุกร์ที่เดินทางไป Maungdaw, Buthidaung และ Myaypone เมืองที่เกิดเหตุรุนแรง จากนั้นวันเสาร์จะเข้าไปยังเมืองโบราณของ Mrauk U และเยียมชุมชนชาวพุทธ และมุสลิมชุมชนอาทิตย์

พันธกิจของวันศุกร์คณะกรรมการเดินทางไปยังสถานที่มีการโจมตอย่างรุนแรงในวันที่ 9 ตุลาคม และ 12-13 พฤศจิกายนในเมือง Maungtaw, รัฐยะไข่ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่

มันคือการ “ตรวจตามกฎหมายที่มีอยู่ และกฎระเบียบเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่คล้ายกันในอนาคต” คำสั่งจากสำนักงานของประธานาธิบดีกล่าว

“คณะกรรมการสอบสวนจะต้องค้นหาความจริงสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และให้คำแนะนำเพื่อความมั่นคงของพื้นที่” คำสั่งระบุ

จากนั้นวันจันทร์คณะกรรมการจะพบกับประธานาธิบดี Htin Kyaw ประธานที่ปรึกษาแห่งรัฐนาง อองซาน ซูจี และผู้บัญชาการทหารบก Min Aung Hlaing ในเมืองหลวง Nay Pyi Taw และในวันอังคารจะมีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในกรุงย่างกุ้ง

ที่มา:i-News