ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

โคโรน่าไวรัสเปลี่ยนรอมฏอนสำหรับมุสลิมอย่างไร

โคโรน่าไวรัสเปลี่ยนรอมฏอนสำหรับมุสลิมอย่างไร

สำหรับบางพื้นที่วันพฤหัสถือเป็นวันแรกของเดือนรอมฏอน สำหรับประเทศไทยวันศุกร์ที่ 24 เมษายน คือวันที่หนึ่งของเดือนรอมฎอน แต่ด้วยกับมัสยิดหลายแห่งถูกปิดเนื่องจากไวรัสโคโรน่า วันสำคัญดังกล่างจึงมีความแตกต่างจากปีที่ผ่านมา

เราจะมีดูกันว่าธรรมเนียมปฏิบัติอะไรบ้างที่จะยังคงอยู่และอะไรอาจจะเปลี่ยนไป

ปกติรอมฎอนเป็นอย่างไร

รอมฎอนในบางพื้นที่เริ่มต้นในวันที่ 23 เมษายน และไปสิ้นสุดในวันที่ 23 พฤษภาคม ในประเทศไทยรอมฎอนอาจจะสิ้นสุดในวันที่ 24 พฤษภาคม ตลอด 30 วัน มุสลิมจะถือศีลอดในช่วงเวลากลางวันซึ่งถือเป็นหนึ่งใน 5 ของหลักปฏิบัติของอิสลาม พวกเขาสามารถทานอาหารก่อนรุ่งอรุณและละศีลอดเมื่อตะวันตกดิน
มุสลิมเชื่อว่าคัมภีร์อัลกรุอ่านถูกประทานลงมาให้กับพระศาสดามูฮัมหมดในช่วงเดือนนี้ นอกจากการอดอาหารแล้ว มุสลิมยังต้องละการมีเพศสัมพันธ์อีกด้วย

ในช่วงเดือนนี้ มุสลิมมักจะบริจาคทาน (ซะกาต) ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งหลักปฏิบัติในศาสนาอิสลาม

จากการสำรวจของ Pew Research Center พบว่าร้อยละ 80 ของชาวอเมริกันมุสลิมถือศีลอดในเดือนอันประเสริฐนี้

สำหรับในประเทศไทย แม้ยังไม่มีตัวเลขที่แน่นอนแต่มุสลิมส่วนใหญ่จะถือศีลอดกันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ

ในทางนิรุกติศาสตร์ภาษาอาหรับนั้น คำว่ารอมฏอนมีรากศัพท์มาจาก “ความร้อนที่รุนแรงมหาศาล” การถือศีลอดจึงเป็นกระบวนการทางจิตใจในการเผาผลาญบาปกรรมด้วยการทำความดี
ในช่วงเดือนรอมฏอน อาหารสองมื้อจะถูกเสริฟเพื่อเริ่มและสิ้นสุดการถือศีลอดในแต่ละวัน “ซาโฮร”เป็นอาหารมื้อแรกที่ทานก่อนรุ่งอรุณ และ “อิฟตาร์” เป็นอาหารมื้อที่สองที่จะทานหลังตะวันตกดิน โดยทั่วไปแล้ว มุสลิมจะทานอาหารมื้อเหล่านี้กันเป็นกลุ่มกับครอบครัวหรือบรรดาเพื่อนๆ

รอมฏอนในช่วงไวรัสโคโรน่า

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาอิสลาม เช่น นครมักกะและมาดีนะในประเทศซาอุดิอาระเบีย และมัสยิดอัลอักศอในปาเลสไตน์/เยรูซาเล็ม จะถูกปิดในช่วงรอมฏอนหลังจากที่ทางการประกาศให้ศาสนิกชนทำการละหมาดที่บ้าน

มัสยิดอัลอักศอตั้งอยู่ในเยรูซาเล็ม (เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งที่สามในอิสลาม) จะถูกปิดในเดือนนี้ สภาวากัฟอิสลามแห่งเยรูซาเล็มประกาศเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

สำหรับมุสลิมแล้วช่วงเวลาที่สำคัญในเดือนรอมฏอนคือการละหมาดในช่วงกลางคืน ซึ่งเรียกว่า “ตารอเวียะ” เป็นการการปฏิบัติศาสนกิจในแต่ละคืนที่มัสยิดและมีอีหม่ามเป็นผู้นำละหมาด

หากย้อนกลับไปในอดีต มัสยิดจะเต็มไปด้วยผู้คนในช่วงรอมฏอน Omar Suleiman อีหม่ามและผู้ก่อตั้ง Yaqeen Institute for Islamic Research กล่าว เขากล่าวต่อว่า การละหมาดในช่วงค่ำคืนสามารถปฏิบัติได้ทั้งที่บ้านและที่มัสยิด มันไม่มีความแตกต่างว่าการทำแบบใดถูกต้องกว่ากัน

ในช่วงที่ผู้คนกำลังกักตัวอยู่บ้านเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค Suleiman กล่าวว่า เขาอยากจะชวนมุสลิมให้โฟกัสกับการละหมาดเป็นการส่วนตัวและปลีกวิเวกไปสู่ความสงบภายในจิตใจ แต่เขาก็กังวลว่าการย้ายไปสู่พื้นที่เสมือนจริงเป็นการชั่วคราวสามารถนำไปสู่การหมดความสนใจในการละหมาดกับผู้อื่น เขากล่าวต่อว่า เขากังวลว่าเมื่อมุสลิมต้องปิดหน้าจอและกลับไปละหมาดที่มัสยิด พวกเขาจะไม่อยากทำอย่างนั้น

“มันมีบางอย่างที่พิเศษเกี่ยวกับการละหมาดและการสวมกอดกัน การอยู่ด้วยกัน รวมถึงการปฏิบัติศาสนกิจในแบบเดิมๆ” เขากล่าว “ผมไม่ต้องการที่จะสูญเสียมันเนื่องจากเรารู้สึกแย่กับการกักตัวในช่วงรอมฏอน ผมไม่ต้องการให้เราทำอะไรบางอย่างที่จะทำลายแบบแผนในอนาคต”

วันสุดท้าย

วันอีดเป็นวันสุดท้ายของเดือนรอมฏอนและถือว่าเป็นวันที่สำคัญที่สุดวันหนึ่งของมุสลิม และเป็นที่รู้จักในนาม “เทศกาลออกบวช” หรือที่มุสลิมในภาคใต้เรียกว่า “ฮารีรายา”

ในวันดังกล่าวมุสลิมจะรวมตัวกันในมัสยิดหรือในพื้นที่โล่งกว้างเพื่อทำการละหมาดอีด ซึ่งโดยปกติแล้วจะตามด้วยการทานอาหารเช้า – อาหารเช้ามื้อแรกในช่วงหลังรุ่งอรุณ

การให้ของขวัญและการบริจาคทานเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกัน ธรรมเนียมปฏิบัติอีกอย่างคือการสวมชุดใหม่ซึ่งหมายถึงการชะล้างจิตใจให้ขาวสะอาด

อาหารคือสิ่งที่่สำคัญที่สุดในวันอีด เพราะเป็นการเฉลิมฉลองการรวมตัวกันกับชุมชน ครอบครัวและเหล่าเพื่อนๆ

Hind Makki จาก Institute for Social Policy and Understanding มองว่ารอมฏอนเป็นช่วงเวลาสำหรับการทบทวนตนเอง แทนที่จะมองว่าเป็นประสบการณ์กับชุมชน

“เราอาจจะกลับไปสู่ความคิดที่ว่า รอมฏอนคือความสงบทางจิตใจ และเนื่องจากเราอยู่กันที่บ้าน เราไม่จำเป็นต้องออนไลน์เป็นประจำ แต่เขาก็วางแผนว่าเขาจะเข้าร่วมการละศีลอดออนไลน์ เพราะนั้นจะทำให้เขาได้มีโอกาสพบปะกับผู้อื่นในช่วงเวลาละศีลอด”

ที่มา www.cnn.com