ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันศุกร์, 29 มีนาคม 2567

มอริส บูกายย์ แพทย์ชาวฝรั่งเศสเข้ารับอิสลาม เมื่อศึกษาเรื่องมัมมี ฟาโรห์

เรื่องราวของมัมมี ฟาโรห์ และการประกาศอิสลามของแพทย์ผู้โด่งดังชาวฝรั่งเศส ชื่อ มอริส บูกายย์ Dr.Maurice  Bucail

อ.มัสลัน มาหะมะ แปลเเละเรียบเรียง

สิ่งมหัศจรรย์ที่แสดงความมีเดชานุภาพของอัลลอฮ์ กรณีศพฟาโรห์

“ดังนั้น วันนี้เราจะให้ร่างของเจ้ารอดพ้นจาก ทะเล เพื่อจักได้เป็นสัญญาณแก่ชนรุ่นหลังจากเจ้า และแท้จริงส่วนใหญ่ของมนุษย์เฉยเมยต่อสัญญาณต่าง ๆ ของเรา”
(ยูนุส / 92)

ช่วง ที่นายฟรองซัวส์ มิตเตอร์รองด์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ปี 1981 รัฐบาลฝรั่งเศส ได้ดำเนินการขออนุญาตจากรัฐบาลอียิปต์ ให้ส่งมัมมี่ฟาโรห์ไปยังประเทศฝรั่งเศสเพื่อทำการชันสูตรและบำรุงรักษา หลังจากนั้นก็มีการเคลื่อนย้ายศพจอมอหังการที่สุดเท่าที่โลกเคยรู้จัก

ที่ ฝรั่งเศส …ขณะที่ขบวนเคลื่อนย้ายมัมมี่ฟาโรห์ลงจากบันไดเครื่องบิน ประธานาธิบดีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศฝรั่งเศส ได้้เข้้าแถวต้อนรับมัมมีี่ฟาโรห์์และคณะอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ !!! เสมือนกับพิธีต้อนรับพระราชาและเสมือนว่าฟาโรห์ยังมีชีวิตอยู่ และกำลังร้องตะโกนแก่ชาวอียิปต์ว่า ข้าคือพระเจ้าที่สูงส่งของพวกเจ้า

หลัง จากพิธีต้อนรับเสร็จสิ้นลง… ศพจอมอหังการก็ถูกเคลื่อนย้ายด้วยขบวนรถอย่างยิ่งใหญ่ซึ่งไม่ด้อยกว่าพิธี ต้อนรับ จากนั้นศพมัมมี่ถูกนำไปยังศูนย์พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ เพื่อทำการชันสูตรโดยคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ภาพที่ท่านเห็นด้านล่างนี้ คือภาพถ่ายระยะใกล้ของ ฟาโรห์โรเมสิสที่สอง สังเกตได้้ว่่ามือทั้ังสองข้างอยู่ในสภาพกอดอก แพทย์ผู้เป็นห้วหน้าทีม ของการชันสูตรศพในครั้งนี้คือ ศ.นพ.มอริส บูกายย์

ทีมแพทย์ชันสูตรต่างกุลีกุจอตรวจรักษาศพมัมมี่เป็นการใหญ่ ในขณะที่ศ.นพ.มอริส ใจจดใจจ่อที่จะพิสูจน์ว่า จอมราชันย์์ผู้โอหังองค์นี้ เสียชีวิตได้อย่างไร

ศพของโรเมสิสที่สองนี้ มีสภาพที่แตกต่างจากศพฟาโรห์อื่นๆ ที่มีการชันสูตรก่อนหน้านี้ เพราะลักษณะการสิ้นชีวิตของฟาโรห์องค์นี้แปลกพิสดารมาก ขณะทีี่ทีมแพทย์์แกะผ้้าพันศพออก พวกเขาต้้องตระหนกตกใจเมื่อมือซ้ายของมัมมี่นี้ได้ยื่นออกอย่างรวดเร็ว คล้ายกับว่าผู้ที่ห่อศพได้ออกแรงดันให้มือท้ังสองข้างชิดแนบอกเหมือนศพ ฟาโรห์องค์อื่นที่สิ้นชีวิตก่อนหน้านี้ ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ????

ช่วงดึกของคืนหนึ่ง ศ.นพ.มอริสได้พิสูจน์ผลการทดสอบครั้งสุดท้าย ซึ่งค้นพบว่า มีเกร็ดเกลือติดอยู่กับศพ ฟาโรห์

หลังจากมีการเอ็กซ์เรย์ เขายังพบอีกว่า กระดูกของศพได้หักเป็นท่อน ๆ ในขณะที่ผิวหนังไม่มีร่องรอยการฉีกขาดเลย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการยืนยันว่าฟาโรห์องค์นี้จมน้ำตายอย่างแน่นอน เนื่องจากถูกกระแทกด้วยน้ำอย่างรุนแรง ทำให้กระดูกหัก แต่ผิวหนังไม่ฉีกขาด หลังจากเสียชีวิต ศพฟาโรห์ องค์นี้ถูกเคลื่อนย้ายออกจากทะเลโดยทันที

หลังจากนั้นประชาชนได้้เร่งรีบห่อศพเป็นมัมมี่เพื่อป้องกันจากการเน่าเปลื่อย สิ่งที่แปลกกว่านี้ ทีมแพทย์สามารถอธิบายเกี่ยวกับมือซ้าย ซึ่งฟาโรห์องค์นี้กำลังถือเชือกบังคับม้าหรือดาบด้วยมือขวา ในขณะที่มือซ้ายถือโล่ห์ และเป็นช่วงที่พระองค์จมน้ำตายพอดี

เนื่องจากอยู่ในอาการตกใจสุดขีด ในขณะที่มือซ้ายกำลังปกป้องการโหมกระหน่ำของน้ำทะเลอย่างสุดชีวิต ทำให้พระองค์ต้องจบชีวิตในลักษณะนี้ ซึ่งในวงการแพทย์แล้วเป็นที่ทราบกันว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะดึงมือให้แนบอกอีกคร้ัง

อาการ ของศพในลักษณะนี้ เป็นทีี่ทราบกันดีในวงการแพทย์ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเหยื่อหรือผู้ตายอยู่ใน อาการปกป้องชีวิตแบบสุด ๆ เช่นกำลังคว้าเสื้อฆาตกรหรือส่วนอื่น ๆ ในทำนองนี้

แต่สิ่งหนึ่งที่สร้างความประหลาดใจแก่่ ศ.ดร.มอริส คือ …….

ทำไม ? ศพฟาโรห์องค์นี้มีสภาพที่สมบูรณ์กว่าศพฟาโรห์องค์ อื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่ศพฟาโรห์องค์นี้ถูกนำมาจากท้้องทะเล

มอริส บูกายย์ ได้ตระเตรียมเขียนรายงานชิ้นสุดท้ายเกี่ยวกับสิ่งใหม่ที่ตนเองค้นพบ นั่นคือฟาโรห์องค์นี้ จมน้ำตายในทะเลก่อนที่จะถูกนำขึ้นบก เขาวาดฝันว่าสื่อทุกแขนงคงให้ความสนใจกับสิ่งที่ตนเองค้นพบอย่างแน่นอน

จน กระทั่งหนึ่งในทีมแพทยช์ชันสูตรได้กระซิบกับเขาว่า ท่านจะรีบร้อนไปทำไม ชาวมุสลิมรู้เรื่องฟาโรห์ จมทะเลตายมาก่อนแล้ว อัลกุรอานของพวกเขาได้เล่าเรื่องนี้มาตั้งแต่ 14 ศตวรรษทีี่ผ่านมาแล้้ว

คำพูดนี้ทำให้ ศ.นพ. มอริส  แปลกใจมาก เขาจึงปฏิเสธอย่างแข็งขันว่า ไม่มีทางที่อัลกุรอานจะค้นพบสิ่งเร้นลับนี้ได้ เว้นแต่ต้องอาศัยอุปกรณ์อันทันสมัยและเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีศักยภาพสูงมาก

ยิ่งไปกว่านั้น มัมมี่ องค์นี้ได้รับการค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 1898 !

ศ.นพ.มอริส รู้สึกแปลกใจยิ่งขึ้น และถามตนเองว่า ไม่มีทางที่ปัญญาของมนุษย์จะยอมรับคำบอกเล่าของอัลกุรอานในเรื่องนี้ได้

มนุษย์ ทั้ั้งมวลซึ่งไม่่เพียงแต่่ชาวอาหรับเท่านั้ั้นต่่างก็ไม่่รู้ด้วยซ้ำว่่า ชาวอียิปต์์ยุคก่่อนรู้้วิธีรักษาศพด้้วยการห่่อศพเป็็นมัมมีี่ เว้้นแต่่ก่่อนหน้้านี้เพียงไม่กีร้อยปีเท่านัน

ศ.ดร.มอ ริส นั่งเพ่งพินิจศพฟาโรห์ทั้งคืนในขณะที่มันสมองของเขา หวนคิดคำพูดของเพื่อน ๆ ว่า อัลกุรอานของชาวมุสลิม ได้พูดถึงศพฟาโรห์ที่ถูกนำออกจากทะเลหลังจากจมน้ำ

ใน ขณะที่คัมภีร์ไบเบิลได้เล่าเพียงการจมน้ำตายของฟาโรห์ช่วงที่ไล่ล่านบีมูซา เท่านั้น โดยไม่มีการพูดถึงว่าศพฟาโรห์ได้ถูกนำ ณ ที่ใดบ้าง

เป็นไปได้หรือที่ มูฮัมมัด ของพวกเขารับทราบความจริงนี้มาตั้ังแต่พันกว่า่ ปีแล้้ว

ในคืนนั้น ดร.มอริสไม่สามารถหลับตานอนได้เลย เขาได้สั่งให้ผู้ช่วยของเขานำคัมภีร์โตราห์ และเขาได้้อ่านตอนหนึง

ความว่่า“และแล้วน้ำก็ได้โถมเข้า้ใส่ ทำให้เหล่าทหารม้าของฟาโรห์จมใต้ทะเล ไม่มีใครรอดชีวิตแม้เพียงคนเดียว”

>

ดร.มอ ริส ยังคงแปลกใจอยู่ว่า แม้้กระทั่งไบเบิลก็ไม่เคยพูดถึงศพของฟาโรห์ว่าถูกรักษาไว้อย่างดี คัมภีร์โตราห์ก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้้กล่าวถึงรายละเอียดจุดจบของศพ ฟาโรห์เลย

จากการตรวจชันสูตรสำเร็จไปด้วยความเรียบร้อย รัฐบาลฝรั่งเศสก็ส่งคืนมัมมี่ฟาโรห์กลับคืนไปยังอียิปต์

แต่ ความรู้สึกของ ดร. มอริส ยังคงว้าวุ่นกระวนกระวาย หลังจากที่เขาทราบว่าชาวมุสลิมรู้มาก่อนหน้านี้ว่าศพฟาโรห์ถูกเก็บรักษา อย่างปลอดภัย

เขาจึงจัดแจงสัมภาระ และตัดสินใจเดินทางไปยังประเทศมุสลิม เพื่อขอพบกับบรรดาศัลยแพทย์มุสลิม

 ณ ที่นั่น เขาได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับศัลยแพทย์มุสลิม พร้อมทั้งเล่าสิ่งที่เขาค้นพบเกี่ยวกับศพฟาโรห์ที่ถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่าง ดีหลังจากจมน้ำตาย หนึ่งในศัลยแพทย์มุสลิมได้้ลุกขึ้น พร้้อมเปิิดอัลกุรอานและอ่่านพจนารถของอัลลอฮฺว่า

“ดัง นั้น วันนี้เราจะให้ร่างของเจ้ารอดพ้นจากทะเล เพื่อจักได้เป็นสัญญาณแก่ชนรุ่นหลังจากเจ้า และแท้จริงส่วนใหญ่ของมนุษย์เฉยเมยต่อสัญญาณต่า่ง ๆ ของเรา” (ยูนุส / 92)

>อายะฮฺนี้ทำให้เขาต้องตะลึงแน่นิ่ง หัวใจเต้นระรัวด้วยความประหลาดใจ เขาได้ลุกขึ้นยืนท่ามกลางสายตาผู้คน พร้อมป่าวตะโกนเสียงก้องว่า ฉันขอประกาศรับอิสลาม และฉันศรัทธาต่ออัลกุรอานนี้

ดร. มอริส บูกายย์ ได้กลับสู่ประเทศฝรั่งเศสในสภาพที่ต่างจากช่วงที่เขาออกมาอย่างสิ้นเชิง

จากนั้น เขาจึงได้ทุ่มเทเวลานานนับสิบปีศึกษาวิจัยความสอดคล้องของวิทยาการและการค้น พบทางวิชาการยุคใหม่กับเนื้อหาที่ปรากฏในอัลกุรอาน

นอกจากนี้ เขายังใช้ความพยายามค้นหาข้อผิดพลาดทางวิชาการที่อาจมีอยู่ในอัลกุรอาน แต่เขาก็ไม่เจอะเจอ แม้เพียงเรื่องเดียวและแล้ว เขาก็ต้้องยอมจำนนกับพจนารถของอัลลอฮฺทีได้ดำรัสความว่า

“ความ เท็จจากข้างหน้าและจากข้างหลังจะไม่สามารถย่างเข้้าไปสู่อัลกุรอานได้ (เพราะ) เป็็นการประทานจากพระผู้้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ”ผลพวงจากความทุ่มเทตลอดระยะเวลาสิบปีนี้ ทำให้ ดร.มอริส สามารถผลิตผลงานชิ้นเอกที่พูดถึงความมหัศจรรย์ของอัลกุรอาน ซึ่งได้รับการกล่าวขานอย่่างกว้้างขวางในประเทศยุโรป และทำให้้วงวิชาการทั่วโลกต้องสั่นสะเทือน

ตำราที่ท่านได้เขียนไว้้มีชืื่อว่่า “คัมภีร์ไบเบิล คัมภีร์กุรอาน และ วิทยาศาสตร์”

ผู้ เขียนได้ศึกษาบรรดาคัมภีร์อันประเสริฐ โดยการใช้ความรู้สมัยใหม่มาเปรียบเทียบ เป็นหนังสือที่มียอดจำหน่ายสูงสุดเล่มหนึ่ง จนกระทั่งขาดตลาดในเวลาอันรวดเร็ว และได้รับการต้อนรับอย่างดีในยุโรปและอเมริกาจนกระทั่งปัจจุบัน

มี นักวิชาการบางคนที่อัลลอฮฺได้ปกปิดดวงใจและนัยน์ตาของเขามิให้มองเห็น สัจธรรม ได้พยายามตอบโต้หนังสือเล่มนี้ แต่พวกเขาไม่ได้้เขียนอะไรเลยเว้้นแต่การโต้้แย้้ง ที่เต็มไปด้วยความอคติและความพยายามอันสูญเปล่า ที่บรรดาชัยฏอนได้ดลใจให้แก่พวกเขา

สิ่งที่แปลกกว่่านี้มีนักวิชาการตะวันตกบางคน ได้้เตรียมการที่จะตอบโต้หนังสือเล่มนี้ แต่หลังจากที่ได้อ่านหนังสือนี้อย่างลึกซึ้งและพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน แล้้ว นักวิชาการเหล่านี้กลับกล่าวคำปฏิญาณตนและประกาศรับอิสลามเสียเอง

คุณรู้จัก ศ.ดร.มอริส บูกายย์ ดีแค่ไหน ?

มอ ริส บูกายย์ เป็นชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อ 19 July 1920 เติบโตจากครอบครัวที่เป็นคริสเตียนนิกายออร์ทอด็อกส์ เป็นศัลยแพทย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในฝรั่งเศสเข้ารับอิสลามเมื่อปี 1982

คัมภีร์ ไบเบิล คัมภีร์อัลกุรอาน และ วิทยาศาสตร์ เป็นงานชิ้นเอกของ มอริส บูกายย์ ซึ่งเขียนขึ้นหลังจากการค้นคว้าหาข้อมูลอย่างยาวนาน ทั้งจากคัมภีร์ไบเบิล อัลกุรอานและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ บูกายย์ ได้ทุ่มชีวิตให้กับการเรียนรู้อิสลามด้วยการศึกษาภาษาอาหรับ และคัมภีร์อัลกุรอานอย่างมุ่งมั่นก่อนที่จะสรุปว่า

“ ในชีวิตนี้ ผมไม่เคยพบความสอดคล้องระหว่างศาสตร์และศาสนาเลยจนกระทั่งผมได้ศึกษาอัลกุ รอาน  ในทัศนะอิสลามแล้วศาสนาและความรู้เป็นคู่่แฝดทีี่ไม่่สามารถแยกออกจากกัน ได้เลย ”

หนังสือเล่มนี้ได้รับการแปลไม่น้อยกว่า 17 ภาษา รวมทั้งภาษาไทยที่แปลโดย ดร.กิติมา อมรทัต ปรมาจารย์ด้านการแปล  ผู้ล่วงลับไปแล้ว ได้ผ่านการตีพิมพ์แล้ว จำนวน 3 ครั้ง (2542 2546 และ2551 ตามลำ ดับ) โดยสำนักพิมพ์์อิสลามิคอะเคเดมี

มอริส ยังได้กล่าวอีกว่า

“อัล กุรอานสอดคล้องกับข้อมูลวิทยาศาสตร์สมัยใหม่อย่างลงตัวที่สุดความรู้สมัย ใหม่ทำให้เ้ราเข้าใจโองการ หลายโองการในอัลกุรอาน ซึ่งไม่สามารถตีความได้จนกระทั่งบัดนี้”

มอริส กล่า่าวว่า

“หาก มีการอ้างว่่า อัลกุรอานเป็นตำาราทีี่เขียนโดยมนุษย์์แล้้ว เป็นไปได้อย่่างไรทีมนุษย์ซึ่งมีชีวิตในศตวรรษที่ 7 จะมีความรู้อย่่่่างแตกฉานและถูกต้องแม่่นยำในเนื้อหาวิชาการทีไม่ เคยเกิดขึ้นในยุคของเขา”

มอริสยังเสริมอีกว่า

“สัมผัส แรกที่เราสามารถรู้สึกได้หลังจากศึกษาอัลกุรอานแล้ว คือ ความน่าทึ่งของเนื้อหาอัลกุรอานทีเต็มไปด้้วยสาระข้อมูลทางวิชาการมากมาย ในขณะที่ในคัมภีร์โตราห์ มีเนื้อหาที่เต็มไปด้วยความผิดพลาดและไม่สามารถยอมรับได้ในวงวิชาการ แต่ในอัลกุรอาน เราจะไม่พบความผิดพลาดในลักษณะนี้แม้เพียงเรื่องเดียว”

 มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺ ซึ่งได้กล่าวว่า “และหากปรากฏว่าพวกเจ้าอยู่ในความแคลงใจใดๆ เกี่ยวกับอัลกุรอาน

ที่เราได้ประทานลงมาแก่บ่าวของเราแล้ว ก็จงนำมาซูเราะฮฺหนึ่งเยี่ยงอัลกุรอานนี้

และจงเชิญชวนผู้ที่อยู่ในหมู่พวกเจ้านอกจากอัลลอฮฺเป็นประจักษ์พยาน หากพวกเจ้าเป็นผู้พูดจริง”

มนุษย์ทั้งมวล ไม่ว่ามุสลิมหรือไม่ใช่มุสลิุมก็ตาม ต่างก็ได้อ่านหรือได้ยินคำ ประกาศที่อหังการและท้้าทายสติปัญญาของมนุษย์ทีสุด มาในลักษณะนี้ตั้งแต่ 14 ศตวรรษแล้ว แต่ยังไม่มีใครสักคนที่หาญกล้าตอบรับคำท้าทายนี้ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต จนกระทั่งวันกิยามะฮ์

 อัลกุรอาน คือคัมภีร์ที่อัลลอฮ์ทรงประทานลงมา เป็นเพราะความมหัศจรรย์ที่เหนือคำบรรยาย ที่สามารถยืนยันในสัจธรรมของ นบีมูฮัมมัด ที่มนุษย์สามารถใช้สติปัญญาพิสูจน์ได้

ความว่า “อะลิฟ ลาม มีม คัมภีร์นี้ ไม่มีความสงสัยใดๆในนั้น เป็นทางนำสำหรับบรรดาผู้ยำเกรงเท่านั้น”

“ดัง นั้น วันนี้เราจะให้ร่างของเจ้ารอดพ้นจากทะเล เพื่อจักได้เป็นสัญญาณแก่ชนรุ่นหลังจากเจ้า และแท้จริงส่วนใหญ่ของมนุษย์เฉยเมยต่อสัญญาณต่าง ๆ ของเรา” (ยูนุส / 92)

อายะฮฺนี้ นำความจริงให้แก่เราอย่า่งน้อย 3 ประการ

1) ศพฟาโรห์ถูกรักษาเป็นอย่างดี ไม่เน่าเปื่อยในทะเลเหมือนศพอื่น ๆ

2) เป็นสัญญาณในเดชานุภาพของอัลลอฮฺสำหรับผู้ศรัทธา

3) คนส่วนมากจะเมินเฉยกับสัญญาณของอัลลอฮฺ ดังกรณีศพฟาโรห์นี้ที่คนส่วนใหญ่ดูเป็นเรื่องราวที่เกียวเนื่องกับธุรกิจการ ท่องเที่ยวเชิงโบราณคดี มากกว่าที่จะเป็นสัญญาณแห่งความปรีชาของอัลลอฮฺ

อ.มัสลัน มาหะมะ แปลเเละเรียบเรียง

มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา