
คำถาม
ผู้ชายคนหนึ่งให้เพื่อนยืมเงินโดยไม่ได้คิดดอกเบี้ยและไม่มีเงื่อนไขว่าจะต้องจ่ายคืนมากกว่าเงินที่ยืมแต่ลูกหนี้ มาจ่ายหนี้ พร้อม เงินที่เพิ่มจากเงินที่ยืม จะถือว่าเป็น ดอกเบี้ยหรือไม่?
คำตอบ
หากจำนวนเงินที่คืนไป เพิ่มขึ้นจากที่ยืมมา โดยไม่ได้วางเงื่อนไขและไม่มีการตกลงในการเพิ่มขึ้นก็ไม่มีปัญหา ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า: แท้จริงมนุษย์ที่ดีที่สุดคือผู้ที่ดีเลิศในการปฏิบัติ (ชำระหนี้ตรงเวลาและมากกว่าจำนวนที่กู้ยืม) ดังนั้นหากเขาให้ยืมหนึ่งร้อยและได้รับคืนหนึ่งร้อยห้าสิบหรือสองร้อย เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและน้ำใจ ก็ไม่มีปัญหา ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บอกว่าเขาเคยยืม สามสิบ จ่ายคืนหกสิบ และเขาเคยยืมสี่สิบและจ่ายคืนแปดสิบ
https://binbaz.org.sa/fatwas/2409/%D8%AD%D9%83%D9%85-%D9%82%D8%B6%D8%A7%D8%A1-%D8%A7%D9%84%D8%AF%D9%8A%D9%86-%D8%A8%D8%B2%D9%8A%D8%A7%D8%AF%D8%A9-%D8%AF%D9%88%D9%86-%D8%A7%D8%B4%D8%AA%D8%B1%D8%A7%D8%B7-%D8%B0%D9%84%D9%83?fbclid=IwAR3ALpIBZlLPTJXJwH9iTv6A4YrECQcLT2Px2GOLeRPxhEraQfoYewnkxxIفتاوى الجامع الكبير لإمام إبن باز رحمه الله
Abunufai Yee Maha
หมายเหตุ
ทำไมต้องเพิ่ม
๑.มารยาท
๒.เงินที่เจ้าหนี้ให้เรายืม เขาต้องนำมาคิดเพื่อจ่ายซากาต
๓.หากเขานำเงินนั้นไปลงทุนเขาจะได้กำไร
๔.หากเงินนั้นอยู่ในระบบสหกรณ์อิสลามเข้าจะได้ปั่นผล
๕.ย้อนกลับไปอ่าน ๔ ข้อ ข้างบน
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " การยืมเงินห้ามคิดดอกเบี้ย แต่การให้สินน้ำใจเพิ่มเติมถือเป็นซุนนะห์ "