วันเสาร์ 10 พฤษภาคม 2568
ติดตามเว็บไซต์
หน้าแรก > ความรู้อิสลาม > เงินหวยในอิสลาม

เงินหวยในอิสลาม

หมวดหมู่ : ความรู้อิสลาม เปิดอ่าน 590 ครั้ง

❤ เงินหวยในอิสลาม

หวย ลอตเตอรี่ ถูกจัดอยู่ในอบายมุขประเภทอัล-มัยสิรฺ หรืออัล-กิมารฺ คือการพนัน ถือเป็นที่ต้องห้าม (หะรอม ) ไม่ว่าจะเป็นขาย เล่น ซื้อ เงินที่ได้จากการขายหวย หรือถูกหวย จึงเป็นเงินต้องห้าม

สำหรับบุคคลๆที่ขายหรือถูกหวย ส่วนการทำธุรกรรมเช่น ซื้อขายสินค้าทั่วไปให้กับคนที่เกี่ยวข้องกับเงินต้องห้ามนี้ ให้พิจารณาว่า ถ้าทรัพย์ทั้งหมดของเขาล้วนเป็นทรัพย์ต้องห้าม เช่นประกอบอาชีพหลัก

ด้วยการขายหวยลอตเตอรี่เพียงอย่างเดียวล้วนๆ หรือเป็นเจ้ามือรับแทงหวย เลขเด็ด เป็นล่ำเป็นสัน ไม่มีอาชีพอื่น ก็ถือว่าต้องห้ามในการทำธุรกรรมกับบุคคลประเภทนี้

ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่า “รู้” ถึงทรัพย์ของเขาว่ามีที่มาจากสิ่งต้องห้ามล้วนๆ ส่วนถ้าเขาประกอบอาชีพหลายอย่างที่ปะปนทั้งอาชีพที่ต้องห้ามและอนุญาต ก็ถือว่ามักรูฮฺ (น่ารังเกียจ) ในการทำธุรกรรมกับคน

ประเภทนี้ ดังนั้นกรณีที่บุคคลหนึ่งถูกหวยแล้วนำเงินที่ได้นั้นมาซื้อขนมแจก หรือนำเงินทำนองนี้มาซื้ออาหารที่ร้าน หากคนที่รับขนมแจกหรือเจ้าของร้านรู้แน่ชัดว่าเงินที่เขาจ่ายเพื่อซื้อขนม และอาหารนั้น

เป็นเงินถูกหวย ก็ต้องห้ามสำหรับผู้ที่รู้ต้นสายปลายเหตุในการรับขนมหรือขายอาหารให้ แต่ถ้าไม่รู้แน่ชัด และเป็นไปได้ว่าเขาใช้เงินส่วนอื่นที่เป็นเงินหะล้าลมาซื้อขนมหรือซื้ออาหารก็ถือว่า มักรูฮฺ ในกรณีนี้

แต่ถ้าไม่รู้เลยว่าคนนี้เล่นหวย และไม่รู้ด้วยว่าเงินของเขาที่จ่ายไปในการซื้อขนม และอาหารเป็นเงินที่ถูกหวย ศาสนาไม่ถือว่ากรณีนี้เป็นโทษโดยถือตามหลักที่ว่า “เราจะไม่ถูกถามถึงสิ่งที่อำพรางจากเรา”

และศาสนาก็มิได้บังคับว่าเราต้องสอบถามที่มาของเงินจากลูกค้าหรือคนที่แจกของว่ามีที่มาอย่างไร? เพราะเป็นเรื่องที่ลำบากในข้อเท็จจริงที่จะทำเช่นนั้น ทั้งนี้เงินที่หมุนเวียนอยู่ระบบการเงิน และการทำ

ธุรกรรมรูปแบบต่างๆในชีวิตประจำวันของผู้คนนั้นเราไม่อาจรู้ได้ว่า เงินนั้นผ่านการกระทำสิ่งที่ผิดต่อหลักการของศาสนามาบ้างหรือไม่?

บางทีเงินที่อยู่ในกระเป๋าเงินของเราเมื่อถูกนำออกจากธนาคารกลางของรัฐและเข้าสู่ระบบของการจับจ่ายใช้สอยในท้องตลาดนั้นไม่แน่ว่า อาจเป็นเงินที่ได้ผ่านการซื้อขายยาเสพติด ยาบ้า การฟอกเงิน เงิน

ดอกเบี้ย เงินขายเนื้อสุกร เงินค่าตัวหญิงค้าบริการ เงินที่ถูกขโมยมาหรือเงินที่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงมาก่อนก็เป็นได้ก่อนที่จะตกมาถึงมือเรา หากไม่ถือตามกฏเกณฑ์ข้างต้นที่ว่า “ เราจะไม่ถูกสอบถามถึง

สิ่งที่อำพรางจากเรา” แล้ว ก็ย่อมเป็นความลำบากอย่างแน่นอนในการใช้ธนบัตรหรือเหรียญสตางค์เหล่านั้น

ขอขอบคุณ อ.อาลี เสือสมิง ที่ช่วยชี้แจงเรื่องดังกล่าว

ที่มา ไทยมุสลิม

ศาสนาอิสลาม – الإسلام

เปิดอ่าน 590 ครั้ง

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " เงินหวยในอิสลาม "

ปิดการแสดงความคิดเห็น