วันเสาร์ 10 พฤษภาคม 2568
ติดตามเว็บไซต์
หน้าแรก > ความรู้อิสลาม > ช้าง หรือ คชสาร สัตว์ที่ถูกระบุถึงในคัมภีร์อัลกุรอาน

ช้าง หรือ คชสาร สัตว์ที่ถูกระบุถึงในคัมภีร์อัลกุรอาน

หมวดหมู่ : ความรู้อิสลาม เปิดอ่าน 55 ครั้ง

ช้าง หรือ คชสาร เป็นชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Elephus maximus ในวงศ์ Elephantidae ตัวสีเทา จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง ตัวผู้มีงายาว เรียก ช้างพลาย ถ้าไม่มีงาเรียก ช้างสีดอ ในฤดูผสมพันธุ์มีอาการดุร้ายมาก ตัวเมียเรียก “ช้างพัง” ส่วนใหญ่ไม่มีงาปรากฏให้เห็น แต่บางตัวมีงาสั้นๆ ซึ่งเรียกว่า “ขนาย” โผล่ออกมา กินพืชอยู่รวมกันเป็นโขลง มีช้างพังอายุมากเป็นจ่าโขลง

งา คือ ฟันที่งอกออกจากปากช้างพลาย ลักษณะนามเรียกว่า “กิ่ง” และเรียกงาช้างที่หักติดอยู่ในไม้หรือสิ่งอื่นๆ ว่า “งากำจาย” และงาช้างที่ยาวมากแต่วงรอบเล็ก เรียกว่า “งาเครือ”งวง คือ จมูกของช้างที่ยื่นยาวออกไป ตรงปลายมีจะงอยสำหรับจับของอย่างมือ

ในคัมภีร์อัลกุรอาน มีบทหนึ่งชื่อ บทอัลฟีล อันหมายถึง ช้าง ชาวอาหรับเรียกช้าง ว่า อัลฟีล และคำว่า อิลีเฟนท์ ในภาษาอังกฤษก็น่าจะแผลงมาจากคำว่า อัลฟีลในภาษาอาหรับนี่เอง เพราะช้างเป็นสัตว์ใหญ่ที่มีอยู่เฉพาะในทวีปแอฟริกา เรียกว่าช้างแอฟริกัน และทวีปเอเชีย เรียกว่า ช้างเอเชีย ในยุโรปไม่มีช้าง ฝรั่งจึงน่าจะรับคำว่า อิลีเฟนท์มาจากอาหรับอีกทอดหนึ่ง

ชาวอาหรับเรียกนามช้างไว้หลายชื่อ (กุนยะฮฺ) อาทิเช่น อบุลฮัจญาจฺ , อบุล – ฮิรมาน , อบูฆอฟลิน , อบูกัลซูม และอบูมูซาฮิม ชาวอาหรับแบ่งช้างออกเป็น 2 ประเภท หนึ่งคือ ฟีล (ช้างพลาย) สองคือ ซันดะบีล (ช้างพัง) ช้างเพศผู้จะผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุได้ 5 ปีบริบูรณ์ และช่วงผสมพันธุ์จะเป็นฤดูใบไม้ผลิ ช้างเพศเมียจะตั้งท้องประมาณ 2 ปี เมื่อตั้งท้องแล้ว

ช้างตัวผู้จะไม่เข้าใกล้ช้างเพศเมียอีกจนกว่าช้างเพศเมียจะตกลูกได้ 3 ปีแล้ว ท่านอับดุลละตีฟ อัลบัฆดาดีย์ กล่าวว่า ช้างเพศเมียจะตั้งท้องนานถึง 7 ปี และช้างตัวผู้จะมีคู่กับช้างเพศเมียเพียงตัวเดียว ซึ่งมันจะหึงหวงคู่ของมันมาก เมื่อตั้งท้องครบกำหนด ช้างก็จะตกลูกริมฝั่งแม่น้ำในท่ายืน โดยพ่อช้างจะคอยระวังภัยให้กับแม่ช้างและลูกจากงูและสัตว์มีพิษ

ว่ากันว่า ช้างหึงหวงรุนแรงเหมือนอูฐ บางทีถึงขั้นฆ่าควาญช้างก็มี ชาวอินเดียอ้างว่า ลิ้นของช้างกลับด้าน ถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว ช้างก็จะพูดได้ เสียงร้องของช้างไม่สมกับตัวของมัน เพราะมันร้องเหมือนเด็กมีพลังมาก สมดังที่ว่า พลังดั่งคชสาร สามาร

ถถอนต้นไม้ได้ทั้งต้น ช้างมีสติปัญญา และสามารถทำความเข้าใจได้ดีในการฝึกซ้อมและทำตามคำสั่งของควาญช้างที่ดูแลช้าง และที่สำคัญช้างถูกใช้ในการสงคราม เรียกว่า “ช้างศึก” ตั้งแต่ครั้งโบราณ

ขอขอบคุณอาจารย์อาลี เสือสมิง

ที่: www.thaimuslim.com

เปิดอ่าน 55 ครั้ง

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " ช้าง หรือ คชสาร สัตว์ที่ถูกระบุถึงในคัมภีร์อัลกุรอาน "

ปิดการแสดงความคิดเห็น