วันพฤหัสบดี 8 พฤษภาคม 2568
ติดตามเว็บไซต์
หน้าแรก > ความรู้อิสลาม > ไปหาหมอดู ฟังคำทำนาย ฟังเฉย ๆ แต่ไม่ได้เชื่อ บาปไหม?

ไปหาหมอดู ฟังคำทำนาย ฟังเฉย ๆ แต่ไม่ได้เชื่อ บาปไหม?

หมวดหมู่ : ความรู้อิสลาม เปิดอ่าน 108 ครั้ง

ไปหาหมอดู ฟังคำทำนาย ฟังเฉย ๆ แต่ไม่ได้เชื่อ บาปไหม?

การไปหาหมอดู มีหลายแบบ (อิสลามเว็บ)

1. ฟังคำทำนาย และเชื่อคำทำนาย พร้อมเชื่อว่า ‘ผู้ทำนาย ล่วงรู้ถึงอนาคต’ ชนิดนี้ เป็นกุฟร์ ที่ทำให้คนหนึ่งพ้นจากศาสนาได้

من أتاه وصدقه في قوله معتقداً علمه بالغيب، فإنه يكفر كفراً مخرجاً من الملة بلا خلاف، وذلك لإشراكه به مع الله في علم الغيب الذي استأثر به لنفسه، قال سبحانه: (قل لا يعلم من في السموات والأرض الغيب إلا الله)[النمل:65] ولجحده تكذيب النبي صلى الله عليه وسلم لهم،

حيث قال صلى الله عليه وسلم: “من أتى كاهناً أو عرافاً فصدقه فيما يقول فقد كفر بما أنزل على محمد” رواه أحمد والحاكم عن أبي هريرة رضي

الله عنه.

2. ฟังคำทำนาย และเชื่อคำทำนาย แต่ไม่ได้เชื่อว่า ผู้ทำนายรู้อนาคต แต่เป็นการที่ผู้ทำนายฟังจากญิน อีกทีเป็นต้น ชนิดนี้ เป็นที่เห็นแย้งกัน บ้างว่า
เหมือนชนิดแรก บ้างว่า เป็นบาปใหญ่

وأما من أتاه وصدقه مع اعتقاده أنه لا يعلم الغيب، وأنه يأخذ أخباره من الجن الذين يسترقون السمع، أو من القرين المصاحب للإنسان، فبعض العلماء قال: إنه يكفر كفراً مخرجاً من الملة، والبعض الآخر قال: كفراً دون كفر، وهو كبيرة من الكبائر.

3. ฟังคำทำนาย และไม่เชื่อคำทำนาย ชนิดนี้ เป็นบาปใหญ่ ไม่ตอบรับการละหมาด ๔๐ วัน

أتاه لمجرد السؤال ولم يصدقه، فهذا لم يكفر لكنه ارتكب كبيرة من الكبائر، ويحرم ثواب صلاته أربعين يوماً زجراً له على معصيته، فعن النبي صلى الله عليه وسلم أنه قال: “من أتى عرافاً فسأله عن شيء لم تقبل له صلاة أربعين ليلة” رواه مسلم وأحمد عن بعض أمهات المؤمنين.

4. ไปหาหมอดู แต่เพื่ออธิบาย หรือพิสูจน์ว่าที่เขาพูดไม่เป็นความจริง แจกแจงความผิดของกลุ่มนี้ ชนิดนี้ อนุญาต บางกรณี สนับสนุน บางกรณีวาญิบด้วยซ้ำ

أتاه ليبين للناس كذبه أو لينكر عليه فعله، وهذا مشروع مأجور صاحبه على ذلك، بل قد يكون واجباً عليه إن كان مستطيعاً له، وذلك قياماً بواجب الأمر بالمعروف والنهي عن المنكر

**เพิ่มเติม เรื่องไม่ตอบรับการละหมาด ๔๐ วัน

อิมาม อันนะวะวีย์ อธิบายว่า หมายถึงการละหมาดจะไม่ได้รับผลบุญ ไม่ได้หมายถึงต้องละหมาดชด และไม่ได้หมายถึงสามารถทิ้งการละหมาดในช่วง ๔๐ วันนั้น (เพราะไหน ๆ ก็ไม่ถูกรับแล้ว) แต่เป็นการถูกห้ามจะส่วนของผลบุญ

การละหมาด มี ๒ ผลที่จะเกี่ยวข้อง คือ ผลทางดุนยา และผลทางอาคิเราะฮ

ผลทางดุนยา คือภาคภายนอก เมื่อละหมาดแล้ว ก็ถือว่า ละหมาดแล้ว ดังนั้น ในช่วง ๔๐ วันนี้ จะไม่ได้จัดว่าเป็นผู้ที่ทิ้งการละหมาดแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ต้องละหมาดชด เพราะครบผลของดุนยา แต่ผลทางอาคิเราะฮฺ คือ ภาคผลบุญ ซึ่งส่วนนี้ต่างหาก ที่เป็นบทลงโทษของผู้ที่ไปหาหมอดู แม้ไม่เชื่อก็ตาม

ปัจจุบัน ต้องระวังมาก โดยเฉพาะ ‘หมอดูโมเดิร์น’ อย่างแอพลิเคชั่นในโลกออนไลน์.

อิช บาลาดีย์

เปิดอ่าน 108 ครั้ง

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " ไปหาหมอดู ฟังคำทำนาย ฟังเฉย ๆ แต่ไม่ได้เชื่อ บาปไหม? "

ปิดการแสดงความคิดเห็น