ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

คำฟัตวา จุฬาราชมนตรี เกี่ยวกับการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี

คำตอบจุฬาราชมนตรี ( ประเสริฐ มะหะหมัด ) เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งในด้านศาสนาอิสลาม

คำถาม: การร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี จะขัดต่อหลักศาสนาอิสลามหรือไม่ และเนื้อร้องมีความหมายอย่างไร

คำตอบจากจุฬาราชมนตรี
คำอธิบายเกี่ยวกับ การร้องเพลงสรร เสริญพระบารมี

1.ข้าวรพุทธเจ้า คำสรรเสริญตามหลักภาษานั้น ไม่มีการแปลตามมูลภาษา หากใช้ในการแทนตัวผู้พูด เรียกว่าบุรุษที่ 1 หรือผู้ฟัง เรียกว่าบุรุษที่ 2 หรือผู้ถูกกล่าวถึง เรียกว่าบุรุษที่ 3 ดังนั้น เมื่อภาษาไทยใช้คำสรรพนามบุรุษที่ 1 ต่อพระมหากษัตริย์ว่า ข้าพระพุทธเจ้า ก็มิได้หมายความตามมูลเดิมของภาษา หากหมายความเป็บุรุษสรรพนามที่ 1 ที่ตรงกับคำธรรมดาว่า ฉัน, ผม, ข้าพเจ้า นั้นเอง ดังนั้นการใช้สรรพนามดังกล่าว จึงไม่ถือเป็นความผิดตามบทบัญญัติอิสลาม

อนึ่ง ถ้าจะแปลกันตามมูลเดิมของภาษาจริงๆ คำว่า ข้าพระพุทธเจ้า ก็สามารถแยกการแปลได้ดังนี้

– ข้า .. สรรพนามบุรุษที่ 1 บ่าว, คนรับใช้, ทาส

– พระ .. ใช้เป็นคำนำหน้านามพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านายชั้นสูง หรือผู้มีคุณธรรมดี ฯลฯ

– พุทธ .. ผู้รู้, ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว

– เจ้า .. ใช้เติมท้ายคำเรียกผู้ที่นับถือ ฯลฯ

จะเห็นว่า การแยกแปลออกมาตามมูลเดิมทางภาษา ก็กลายไปเป็น “คุณลักษณะ” กลางๆ ซึ่งไม่จำกัดว่าจะเป็นผู้ใด ในพจนานุกรม คำว่า “ข้าพระพุทธเจ้า” ให้ความหมายไว้ว่า “สรรพนามบุรุษที่ 1 ใช้พูดกับเจ้าหน้าที่ชั้นสูง หรือพระเจ้าแผ่นดิน มีความ หมายเท่ากับ ” ข้าพเจ้า” การใช้คำพูดไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตาม ย่อมขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้พูดเองว่า จะหมาย ความคำพูดนั้นอย่างไร เพราะคำพูดเป็นสื่อของความหมาย ที่สะท้อนจากความรู้สึกนึกคิดของคนเรา ดังนั้นเมื่อพจนานุกรมและผู้พูด พูดคำว่า”ข้าพระพุทธเจ้า” ในความหมายของ “สรรพนามบุรุษที่ 1” ก็ไม่ถือว่ากล่าวคำพูดที่ผิดต่อหลัก การอิสลามแต่ประการใดๆ อนึ่ง หลักภาษาไทยแบ่งการพูดออกเป็น 2 ลักษณะคือ คำพูดสามัญธรรมดา กับราชาศัพท์ เมื่อเราจะพูดภาษาไทย ก็ต้องใช้หลักภาษาไทยให้ถูกต้องและคำว่า “ข้าวรพุทธเจ้า” ก็คือคำว่า “ข้าพระพุทธเจ้า” นั่นเอง

– วร .. ดี, วิเศษ,ยอดเยี่ยม. มีค่า. ประเสริฐ

2. เอามโนและศิริกราน หมายความว่า เอาใจและศีรษะนอบน้อมถวายบังคมพระเจ้า อยู่หัว นบพระภูมิบาลบุญดิเรก พระเจ้าอยู่ หัว ผู้มีบุญญาธิการ คำว่า มโน .. ใจ, ศิระ .. ศีรษะ ทั้งใจและศีรษะได้นอบน้อม ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว ซึ่งการน้อมนบก็ยังมิได้ มีความหมายเจาะจงลงไปว่าต้องกราบ เพระคำว่า

– กราน .. ตามพจนานุกรม หมายถึง นอบ, ไหว้, นอบน้อม ดังนั้น การแสดงความนอบน้อมต่อพระ มหากษัตริย์ที่ใช้คำว่า “ถวายบังคม” จึงมิได้จำกัดเฉพาะว่าจะต้องเป็น “การกราบ” ซึ่งผิดบทบัญ ญัติศาสนาอิสลาม เพราะการกราบนั้นศาสนาอิสลามสอนไว้ ให้กระทำเฉพาะต่อพระองค์อัลเลาะห์ ตาอาลา เท่านั้น จะกระทำต่อสิ่งอื่นหรือบุคคลอื่นไม่ได้การถวายบังคม จึงขึ้นอยู่กับหลักความเชื่อและหลักศาสนาของผู้กระทำ สำหรับผู้ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม ก็อาจหมายถึงการกราบ การหมอบลงไปต่อหน้าพระพักต์ ซึ่งเป็นท่าทางอันแสดงออกทางกิริยา อนึ่ง คำว่า “ถวายบังคม” แยกแปลได้ดังนี้

– ถวาย หมายถึง มอบ, ให้, ให้ดู, ให้ชม

– บังคม หมายถึง ไหว้, มีความหมายเท่ากับ “กราบ” ด้วย เมื่อผู้นับถือศาสนาอิสลาม ไม่สามารถจะถวายบังคมด้วยการกราบได้ ก็กระทำได้ด้วยการยืนตรงการแสดงท่าถวายบังคมเพียงเท่าที่กล่าวมานี้ มิได้หมายความว่า ผู้นับถือศาสนาอิสลามจะขาดความเคารพนบนอบ ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็หาไม่ แท้จริงแล้วในจิตใจของผู้นับถือศาสนาอิสลาม ก็คงเปี่ยมด้วยความเคารพนบนอบ และจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เหมือนกับชายไทยที่นับถือศาสนาพุทธนั่นเอง

3. เอกบรมจักริน ทรงเป็นกษัตริย์สืบราชวงศ์จักรีอันประเสริฐ ทรงเป็นเอกในประเทศไทย พระสยามินทร์

4. พระยศยิ่งยง เย็น ทรงมีพระเกียรติคุณงามมาก ประชาชนมีความร่มเย็นเพระพระ องค์ปกป้อง

ศิระเพราะพระบริบาล คุ้มครอง คำว่า “บริบาล” เป็นคุณลักษณะซึ่งแสดงถึงการปกป้องคุ้มครองดูแล ซึ่งเป็นไปได้ตั้งแต่บิดา มารดา จนถึงพระผู้เป็นเจ้า และตรงกับพระนามของพระผู้เป็นเจ้า ที่แปลว่า อภิบาล หรือ บริบาล คือว่า ร๊อบบฺ พระนามของพระผู้เป็นเจ้านั้น นักวิชา การแบ่งออกเป็น 2 คือ

1.พระนามแห่งอาตมัน

2.พระนามแห่งคุณลักษณะ

พระนามแห่งอาตมันนั้น จะนำไปใช้กับบุคคลอื่นไม่ได้ นอกจากจะต้องเพิ่มคำว่า “ข้า” ลงไป แต่พระนามแห่งคุณลักษณะนั้น สามารถจะใช้ร่วมโดยบุคคลอื่นๆ ได้ และคำๆ นี้ก็เป็นหนึ่งในจำนวนพระนามแห่งคุณลักษณะ หากนำ ไปใช้โดยเจาะจง เป็นคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า ก็ต้องหมายถึงพระองค์จะนำมาใช้กับบุคคลอื่นไม่ได้ และต้องเพิ่มคำว่า “ข้า” ลงไปถ้าหมายความไม่จำกัดเจาะจงว่า เป็นคุณลักษณะของพระองค์ ก็สามารถนำมาใช้กับบุคคลอื่นๆ ได้โดยทั่วไป

5. ผลพระคุณธรักษา ด้วยผลแห่งความดีที่พระองค์ทรงปกป้อง คุ้มครองให้ประชา ชนได้มีสุขสำราญปวงประชาเป็นสุขสานต์ นั้น

6. ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด ขอพระคุณนั้น จงบันดาลสิ่งที่พระองค์ต้องพระราชประสงค์จำนงหมาย จงสฤษดิ์ดังหวังวรหฤทัย จงสำเร็จสมพระราชหฤทัยหวัง ดังที่ได้น้อมเกล้าฯถวายพระพรชัย ดุจถวายชัย ชโย ประโยคท่อนท้ายนี้ เป็นการถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยอ้างถึงความดีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้การคุ้มครองต่อประชาชนจนเป็นสุข ขอความดีของพระองค์ได้บันดาลให้พระองค์ สำเร็จสมพระราชหฤทัยหวัง เป็นประเพณี การถวายพระพรชัยมงคล ซึ่งมักจะอ้างแบบนั้น หากจะหมายความตรงตามตัวอักษร ตามหลักการอิสลามแล้ว ถือว่าผิด เพราะความดีนั้นไม่อาจบันดาลสิ่งใดได้ ผู้บันดาลคือพระองค์อัลเลาะห์ตาอาลาคำพูดทำนองนี้ มีความหมายในเชิงเปรียบเทียบ เพื่อเน้นถึงความเคารพในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น มิได้มีความหมายที่เป็นจริงในทางรูปธรรม เมื่อคำพูดในเชิงเปรียบเทียบเช่นนี้ การจะตัดสินนัยยะแห่งคำพูดก็ต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้พูด และเจตนาของผู้พูดประโยคเหล่านั้น จะวัดกันที่หลักยึดมั่นในจิตใจเป็นประการสำคัญ ซึ่งมีการแสดงออกเป็นกระจกสะท้อนถึงหลักยึดมั่นนั้น

อนึ่ง สาเหตุที่ทางศาสนาอิสลามถือว่าสิ้นสภาพอิสลามมีอยู่ 3 สาเหตุคือ

1. การกระทำที่ทำให้สิ้นสภาพอิสลาม

2. ความคิดที่ทำให้สิ้นสภาพอิสลาม

3. คำพูดที่ทำให้สิ้นสภาพอิสลาม

คำพูดที่แสดงถึงเจตนาว่า จะปฏิบัติการกระทำที่ทำให้สิ้นสภาพอิสลาม โดยไม่ได้กระทำจริงตามนั้น ยังไม่ถือว่าสิ้นสภาพอิสลาม แต่ถ้าจิตใจ คิดที่จะเลิกจากสภาพอิสลาม หรือจะนับถือศาสนาอื่น เพียงแต่มีความลังเลในหัวใจต่อความคิดนั้น ก็ทำให้สิ้นสภาพอิสลามได้แล้ว ถ้าสมมุติจะยึดตามบางคน ที่แปลบทเพลงไปตามความหมายที่นิยามตามหลักศาสนาอื่นๆ เมื่อมุสลิมนำมาใช้โดยไม่มีเจตนาที่จะทำและมิได้กระทำ เช่น อาจจะแปลคำ กราน เป็นกราบหรือ นบ เป็น กราบ หรือ บังคม เป็น กราบ คำพูดก็เป็นเพียงคำพูดซึ่งยังไม่มีการกระทำ จึงไม่ถือเป็นคำพูดที่ทำให้ขาดสภาพอิสลาม เพราะการกราบผิดตรงการกระทำ แต่เมื่อนำมาเป็นคำ พูดก็ยังสามารถจะแปลออกไปได้อีกตามเจตนาของผู้พูดเอง ดังกล่าวไว้แล้ว

คำตอบจุฬาราชมนตรี ( ประเสริฐ มะหะหมัด )23 ข้อ เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งในด้านศาสนาอิสลาม จากการรวบรวมโดย ศอ.บต.