ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันอังคาร, 19 มีนาคม 2567

วิธีละหมาดสุริยุปราคาและจันทรุปราคา

สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้

ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น

จันทรุปราคา มีเรียกหลายชื่อ เช่น จันทรคาธจันทรคราสราหูอมจันทร์ หรือ กบกินเดือน เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์ผ่านหลังโลกเข้าสู่อัมบรา (umbra) โดยตรง ซึ่งเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์เรียงตรงกันพอดีหรือใกล้เคียงมาก โดยมีโลกอยู่กลาง ชนิดและระยะของอุปราคาขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์เทียบกับปมวงโคจร (orbital node)

สุริยุปราคา ตรงกับภาษาอาหรับว่า กุสูฟ คือ การที่แสงตะวันถูกบังไปหมดหรือหายไปบางส่วนในเวลากลางวัน

จันทรุปราคา ตรงกับภาษาอาหรับว่า คุสูฟ คือ การที่แสงจันทร์หายไปหมดหรือหายไปบางส่วนในเวลากลางคืน

หุก่มการละหมาดคุสูฟและกุสูฟ

การละหมาดคุสูฟและกุสูฟเป็นสุนัตมุอักกะดะฮฺ สำหรับมุสลิมและมุสลิมะฮฺทุกคน ไม่ว่าจะเป็นในยามเดินทางหรือไม่ก็ตาม
การรู้เวลากุสูฟและคุสูฟ

คุสูฟและกุสูฟนั้นมีกำหนดเวลาที่ชัดเจนเหมือนกับการขึ้นของดวงตะวันและดวงจันทร์ ซึ่งมีกำหนดเวลาที่ชัดเจน โดยปรกติแล้วอัลลอฮฺจะกำหนดให้กุสูฟนั้นปรากฏในท้ายของเดือน และกำหนดให้คุสูฟนั้นปรากฎในระหว่างที่มันเต็มเดือนอยู่เรียกว่าวันบีฎ

สาเหตุของการกุสูฟและคุสูฟ

เมื่อเกิดกุสูฟหรือคุสูฟให้มุสลิมรีบไปละหมาดที่มัสญิด หรือที่บ้านก็ได้ แต่ที่มัสญิดนั้นดีกว่า ด้วยการเกิดแผ่นดินไหวนั้นมีสาเหตุ ฟ้าแลบก็มีสาเหตุ ภูเขาไฟระเบิดก็มีสาเหตุ การกุสูฟและคุสูฟก็ย่อมมีสาเหตุที่อัลลอฮฺกำหนดให้เช่นกัน ซึ่งเคล็ดลับก็คือการเตือนบ่าวของอัลลอฮฺให้มีความกลัวในโทษของพระองค์และมอบตัวเองและกลับคืนสู่อัลลอฮฺ

ช่วงเวลาของการละหมาดกุสูฟและคุสูฟ

เริ่มละหมาดได้เมื่อเริ่มมีปรากฏการณ์กุสูฟและคุสูฟจนกระทั่งกลับสู่สภาพปรกติ

ลักษณะการละหมาดกุสูฟและคุสูฟ

การละหมาดกุสูฟและคุสูฟไม่มีการอะซานและอิกอมะฮฺ แต่ว่ามีการเรียกให้มาละหมาดไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน โดยใช้ประโยคว่า (الصلاة جامعة) จะกล่าวครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ได้
หลังจากนั้นให้อิมามตักบีรฺแล้วอ่านฟาติหะฮฺและสูเราะฮฺที่ยาวด้วยเสียงดัง แล้วจึงรุกูอฺด้วยการรุกูอฺที่นาน แล้วเงยขึ้นจากรุกูอฺพร้อมกับกล่าว

(سمع الله لمن حمده، ربنا ولك الحمد)

โดยไม่ต้องลงไปสุญูดก่อน แต่ให้เริ่มอ่านฟาติหะฮฺใหม่อีกครั้ง ตามด้วยสูเราะฮฺที่สั้นกว่าครั้งแรก แล้วจึงรุกูอฺด้วยการรุกูอฺที่สั้นกว่าครั้งแรก แล้วเงยขึ้นจากรุกูอฺ แล้วจึงสุญูดด้วยการสุญูดที่นานสองสุญูด โดยสุญูดครั้งแรกให้นานกว่าครั้งที่สองและให้นั่งระหว่างสองสุญูดด้วย หลังจากนั้นให้ลุกขึ้นทำร็อกอะฮฺที่สองโดยทำเหมือนกับร็อกอะฮฺแรกทุกประการ เพียงแต่ให้สั้นกว่านิดหน่อย แล้วจึงกล่าวตะชะฮฺฮุด แล้วจึงให้สลามลักษณะคุฏบะฮฺในการละหมาดกุสูฟ

สุนัตให้อิมามกล่าวคุฏบะฮฺหลังจากละหมาด โดยมีเนื้อหาการสอนสั่งให้ผู้คนทำดี และกล่าวตักเตือนให้นึกถึงปรากฎการณ์อันใหญ่หลวงที่เกิดขึ้นนี้เพื่อโน้มน้าวจิตใจ แล้วใช้ให้ผู้คนดุอาและอิสติฆฺฟารฺให้มากๆ

มีรายจากท่านหญิงอาอิชะฮฺว่า:

خَسَفَتِ الشَّمْسُ فِي عَهْدِ رَسُولِ الله صلى الله عليه وسلم ، فَقَامَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم يُصَلِّي، فَأطَالَ القِيَامَ جِدّاً، ثُمَّ رَكَعَ فَأطَالَ الرُّكُوعَ جِدّاً، ثُمَّ رَفَعَ رَأْسَهُ فَأطَالَ القِيَامَ جِدّاً، وَهُوَ دُونَ القِيَامِ الأوَّلِ، ثُمَّ رَكَعَ فَأطَالَ الرُّكُوعَ جِدّاً، وَهُوَ دُونَ الرُّكُوعِ الأوَّلِ، ثُمَّ سَجَدَ.
ثُمَّ قَامَ فَأطَالَ القِيَامَ، وَهُوَ دُونَ القِيَامِ الأوَّلِ، ثُمَّ رَكَعَ فَأطَالَ الرُّكُوعَ، وَهُوَ دُونَ الرُّكُوعِ الأوَّلِ، ثُمَّ رَفَعَ رَأْسَهُ فَقَامَ، فَأطَالَ القِيَامَ، وَهُوَ دُونَ القِيَامِ الأوَّلِ، ثُمَّ رَكَعَ فَأطَالَ الرُّكُوعَ، وَهُوَ دُونَ الرُّكُوعِ الأوَّلِ، ثُمَّ سَجَدَ.
ثُمَّ انْصَرَفَ رَسُولُ الله صلى الله عليه وسلم وَقَدْ تَـجَلَّتِ الشَّمْسُ، فَخَطَبَ النَّاسَ فَحَـمِدَ الله وَأثْنَى عَلَيْـهِ، ثُمَّ قال: «إنَّ الشَّمْسَ وَالقَمَـرَ مِنْ آيَاتِ الله، وَإنَّهُـمَا لا يَنْخَسِفَانِ لِـمَوْتِ أحَدٍ وَلا لِـحَيَاتِـهِ، فَإذَا رَأيْتُـمُوهُـمَا فَكَبِّرُوا، وَادْعُوا الله وَصَلُّوا وَتَصَدَّقُوا، يَا أمَّةَ مُـحَـمَّدٍ! إنْ مِنْ أحَدٍ أغْيَرَ مِنَ الله أنْ يَزْنِيَ عَبْدُهُ أوْ تَزْنِيَ أمَتُـهُ، يَا أمَّةَ مُـحَـمَّدٍ! وَالله! لَوْ تَعْلَـمُونَ مَا أعْلَـمُ لَبَكَيْتُـمْ كَثِيرًا وَلَضَحِكْتُـمْ قَلِيلا، ألا هَلْ بَلَّغْتُ؟»

ความว่า “ได้เกิด(กุสูฟ)สุริยุปราคาขึ้นในสมัยของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านจึงได้ออกไปละหมาดโดยยืนละหมาดนานมาก แล้วท่านจึงรุกูอฺเป็นเวลานาน เสร็จแล้วท่านได้เงยศรีษะและได้ยืนขึ้น แล้วยืนละหมาดนานอีก แต่น้อยกว่าการยืนในครั้งแรก หลังจากนั้นท่านก็รุกูอฺนานอีก แต่น้อยกว่าการรุกูอฺในครั้งแรก หลังจากนั้นท่านก็สุญูด แล้วท่านก็ลุกขึ้นยืนละหมาดในร็อกอะฮฺที่สองนานอีก แต่น้อยกว่าการยืนในร็อกอะฮฺแรก หลังจากนั้นท่านจึงรุกูอฺเป็นเวลานาน เสร็จแล้วท่านได้เงยศรีษะและได้ยืนขึ้น แล้วยืนละหมาดนานอีก แต่น้อยกว่าการยืนในครั้งแรก หลังจากนั้นท่านก็รุกูอฺนานอีก แต่น้อยกว่าการรุกูอฺในครั้งแรก หลังจากนั้นท่านก็สุญูด แล้วท่านจึงเสร็จละหมาด เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่นออก

หลังจากนั้นท่านก็ได้ยืนขึ้นกล่าวตัหฺมีดและชุกูรฺอัลลอฮฺ แล้วกล่าวแก่ผู้คนว่า แท้จริงดวงอาทิตย์และดวงจันทร์นั้นเป็นสัญญานแห่งความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ ฉะนั้นการเกิดสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคาไม่ใช่เกิดเพราะตายหรือการเกิดของผู้ใด เมื่อพวกท่านเห็นมันก็จงกล่าวตักบีรฺ แล้วดุอาต่ออัลลอฮฺ และจงละหมาดและเศาะดะเกาะฮฺ โอ้ประชาชาติมุหัมมัดเอ๋ยไม่มีผู้ใดที่จะห่วงเกินไปกว่าอัลลอฮฺในการที่บ่าวชายของพระองค์จะซินาหรือบ่าวหญิงของพระองค์จะซินา โอ้ประชาชาติมุหัมมัดเอ๋ย หากพวกท่านรู้ในสิ่งที่ฉันรู้แน่นอนพวกท่านย่อมร้องไห้มากและย่อมหัวเราะน้อย โอ้ ท่านทั้งหลาย ฉันได้บอกจนประจักษ์แล้วหรือไม่ ?”

(มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1044 และมุสลิม เลขที่: 901 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)

การชดละหมาดกุสูฟและคุสูฟ

ถือว่าได้หนึ่งร็อกอะฮฺละหมาดกุสูฟสำหรับผู้ที่ทันในรุกูอฺแรกของทุกร็อกอะฮฺ และไม่จำเป็นต้องชดละหมาดกุสูฟ หากไม่ทันละหมาดเพราะปรากฏการณ์นั้นๆสิ้นสุดแล้ว
เมื่อการกุสูฟและคุสูฟสิ้นสุดลงในขณะที่ผู้คนกำลังละหมาดอยู่ ให้รีบทำให้เสร็จโดยละหมาดสั้นๆ และเมื่อละหมาดเสร็จแล้วแต่การกุสูฟและคุสูฟยังไม่สิ้นสุด ให้กล่าวดุอาอ์ ตักบีรฺและเศาะดะเกาะฮฺให้มากๆ จนกว่าจะสิ้นสุดการกุสูฟและคุสูฟ

ความเข้าใจเกี่ยวกับกุสูฟ

เป็นสิ่งที่ประจักษ์ว่าการกุสูฟนั้นทำให้จิตใจของคนโน้มเอียงไปสู่การเตาฮีดที่บริสุทธิ์ ยอมรับที่จะทำอิบาดะฮฺ ห่างไกลจากอบายมุขและบาป ยำเกรงต่ออัลลอฮฺและกลับเข้าหาอัลลอฮฺ
1- อัลลอฮฺได้กล่าวว่า

( ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ) [الإسراء/59]

ความว่า “และเรามิได้ส่งสัญญานต่างๆ เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเป็นเตือนสำทับเท่านั้น” (อัล-อิสรออ์ : 59)

2- มีรายงานจากท่านอบู มัสอูด อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:

«إنَّ الشَّمْسَ وَالقَمَـرَ آيَتَانِ مِنْ آيَاتِ الله يُـخَوِّفُ الله بِـهِـمَا عِبَادَهُ، وَإنَّهُـمَا لا يَنْكَسِفَانِ لِـمَوتِ أَحَدٍ مِنَ النَّاسِ، فَإذَا رَأَيْتُـمْ مِنْـهُـمَا شَيْئاً فَصَلُّوا وَادْعُوا الله حَتَّى يُكْشَفَ مَا بِكُمْ»

ความว่า “แท้จริงดวงอาทิตย์และดวงจันทร์นั้นเป็นสัญญานแห่งความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ เพื่อเป็นการเตือนสำทับบรรดาบ่าวของพระองค์ ฉะนั้นการเกิดสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคาไม่ใช่เกิดเพราะตายของผู้ใด เมื่อพวกท่านเห็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จงละหมาดและขอดุอาต่ออัลลอฮฺจนกว่ามันจะหายไป”(มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ เลขที่ : 1041 และมุสลิม เลขที่: 911 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)

หุก่มการละหมาดเมื่อเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ

มีบัญญัติว่าการละหมาดเมื่อเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ มีทั้งหมดหกร็อกอะฮฺและสี่สุญูด ในทุกๆ ร็อกอะฮฺมีสามรุกูอฺและสองสุญูด ส่วนสัญญานต่างๆ นั้นได้แก่ แผ่นดินไหว น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด อุบัติภัย และอื่นๆ

วิธีการละหมาดกุสูฟและคุสูฟ แบบสรุป

วิธีการละหมาดกุสูฟและคุสูฟ อ่านฟาติหะห์+ซูเราะห์ 2 ครั้ง, รุกูอฺ 2 ครั้ง และสุญูด 2 ครั้ง โดยที่ให้การอ่านซูเราะห์  การรุกูอฺและการสุญูด ในครั้งที่ 2 นั้นสั้นกว่าครั้งแรก จากนั้นจึงนั่งตะชะฮุด แล้วจึงให้สลาม บุคอรีย์ (1044,1047,1050,1056) และมุสลิม (901)

นักวิชาการส่วนใหญ่ให้ละหมาดเป็น 2 รอกอัต โดยในทุกรอกอัตมี 2 รูกั๊วะ ท่านอีหม่ามนาวาวีให้อ่านค่อย ๆ ในกุสูฟ(สุริยุปราคา) และอ่านดังในคุสูฟ (จันทรุปราคา) ทั้งละหมาดกุสูฟและคุสูฟ เป็นสุนัตมุอักกะดะฮ์ หากใครไม่ได้ละหมาดในเวลาที่กำหนดก็ไม่มีบทบัญญัติให้ชดใช้

–  การละหมาดทั้งสองมีสองรอกอัต

–  หลังจากเหนียตและตักบีรละหมาดแล้ว ให้อ่านดุอาอิสติฟตาห์

–  แล้วกล่าวอะอูซุบิลแลฮิมินัซซัยตอนิรรอญีม บิสมิลแลฮ์ฯ ฟาติฮะห์ และซูเราะฮ์ตามลำดับ

–  เสร็จแล้วให้รูกั๊วะ

–  เสร็จแล้วเงยขึ้นมาเอี๊ยะติดาล แล้วอ่านซูเราะฮ์ฟาตีฮะห์ อีกครั้งหนึ่ง

–  เสร็จแล้วให้รูกั๊วะอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้ให้มีความนานในการรูกั๊วะน้อยกว่าครั้งแรก

–  เสร็จแล้วให้เอี๊ยะติดาลอีกครั้งหนึ่ง

–  แล้วสุหยูดสองครั้งโดยให้ทั้งสองสุหยูดมีตอม๊ะนีนะฮ์ (นิ่งครู่หนึ่งในสุหยูดทั้งสองด้วย)

–  แล้วให้ยืนนิ่งทำรอกอัตที่สอง ด้วยสองยืน สองการอ่าน และสองรูกั๊วะ สองเอี๊ยะติดาลและสองสุหยูด

–  ในการรูกั๊วะทุกครั้งให้อ่านตัสเบียะห์นาน ๆ แต่ไม่ต้องสุหยูดนาน ๆ หรือจะสุหยูดนานๆ ด้วยก็ได้

–  หลังจากให้สล่ามในการละหมาดแล้ว ให้อีหม่ามอ่านคุตบะฮ์ ซึ่งมีรู่ก่นชะรัตและ

ละหมาดโดยทั่วไปเหมือนคุตบะฮ์ในละหมาดญุมอัต โดยให้มีเนื้อหาเชิญชวนให้ทำ

เตาบะฮ์ (ขออภัย) และกระทำความดี เช่น การทำซอดะเกาะฮ์ เป็นต้น

เวลาของการละหมาดหมดสิ้นเมื่อดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ทอแสงได้เต็มดวง หรือเมื่อลับขอบฟ้าในกรณีที่เป็นกุสูฟ(สุริยุปราคา) หรือเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นในกรณีที่เป็นคุสูฟ (จันทรุปราคา)

*อนึ่ง ด้วยการอ่านสุนัตต่างๆ เหมือนการละหมาดทั่วไป เช่น ดุอาอิสติฟตาห์ การอ่านซูเราะห์ การกล่าวหลังจากยืนตรงเมื่อขึ้นจากรุกัวะ (ร๊อบบะนาละกัลลอฮัมดฺ) เป็นต้น

มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

แปลโดย : ดานียา เจะสนิ

ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

จากหนังสืออัล-บาญูรีย์ เล่ม 1หน้า 228-231