
ดุอาร์หลังละหมาด ที่ท่านนบีสั่งไม่ให้ทิ้ง
عــن مُعَاذِ بْنِ جَبَلٍ رضي الله عنه أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَخَذَ بِيَدِهِ وَقَالَ
: يَا مُعَاذُ ! وَاللَّهِ إِنِّي لَأُحِبُّكَ ، فَقَالَ : أُوصِيكَ يَا مُعَاذُ : لَا تَدَعَنَّ فِي دُبُرِ كُلِّ صَلَاةٍ تَقُولُ : اللَّهُمَّ أَعِنِّي عَلَى ذِكْرِكَ وَشُكْرِكَ وَحُسْنِ عِبَادَتِكَ
) رواه أبو داود (1522) قال النووي في “الأذكار” (ص/103): إسناده صحيح . وقال الحافظ ابن حجر في “بلوغ المرام” (ص/96): إسناده قوي. وصححه الألباني في “صحيح أبي داود”.
จากมุอาซ รอดิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ซ็อลลัลลอฮฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้จับมือเขาแล้วกล่าวว่า “โอ้มุอาซ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ แท้จริง ฉันรักท่าน ฉันจะขอสั่งเสียต่อท่าน โอ้มุอาซ ท่านจงอย่าละทิ้งการกล่าวสิ่งนี้หลังละหมาดทุกครั้ง
اللَّهُمَّ أَعِنِّي عَلَى ذِكْرِكَ وَشُكْرِكَ وَحُسْنِ عِبَادَتِكَ
คำอ่าน: “อัลลอฮุมม่าอินนี อ้าลาซิกรี้ก้า ว่าชุกรี้ก้า ว่าฮุสนี่ อิบาด้าติก”
“โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงช่วยเหลือข้า ให้ข้าได้อยู่ในการรำลึกถึงท่านเสมอ และอยู่ในการขอบคุณต่อท่าน และอยู่ในสภาพการทำอิบาดะฮฺต่อท่านอย่างสมบูรณ์งดงามเสมอ” บันทึกโดย อบูดาวูด
สิ่งที่ได้รับจากฮะดิษ
1. การจับมือ แล้วกล่าว คำว่า แท้จริงฉันรักท่าน เป็นแสดงถึงความสำคัญของสิ่งที่พูดต่อไปว่ามีความสำคัญมาก และติดตามด้วยคำว่า ฉันขอสั่งเสียแก่ท่าน เสมือนคำแนะนำหรือเป็นคำสั่งใช้ที่ฝากให้ปฏิบัติต่อไปนี้ มาจากใจจริงด้วยความรัก ที่ผู้รับควรปฏิบัติอย่างจริงจังและเคร่งครัดอย่างมาก
2. ดุอาอฺดังกล่าวเป็นดุอาอฺที่มีองค์ประกอบที่ครอบคลุมเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักของการทำหน้าที่ต่ออัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮู วะตะอาลา) อัน ได้แก่
a. การขอความช่วยเหลือให้ตนเองอยู่ในสภาพของบ่าวของพระองค์ ผู้ที่รำลึกต่อพระองค์อยู่ตลอดเวลา
b. ขอความช่วยเหลือให้ตนเองเป็นบ่าวที่รู้จักบุญคุณของพระองค์ สำนึกในความโปรดปรานอันมากมายทที่พระองค์ทรงประทานให้ อยู่สภาพของการขอบคุณต่อพระองค์ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกด้วยคำพูด การกระทำ หรือภายในจิตใจก็ตาม
c. และขอให้พระองค์ทรงช่วยเหลือให้ตนเองเป็นบ่าวผู้ทำหน้าที่ของการเป็นบ่าวหรืออิบาดะฮฺต่อพระองค์อย่างสมบูรณ์และงดงามที่สุด นั่นคือหลักอิบาดะฮสำคัญ สู่ “อัลอิฮฺซาน” ดังที่ท่านนบี บอกให้บรรดาผู้ศรัทธาปฏิบัติอิบาดะฮฺเสมือนว่าเขาเห็นอัลลอฮฺ ถึงแม้ว่าเขาไม่เห็นอัลลอฮฺ แต่ก็ให้ตระหนักว่า แท้จริง อัลลอฮฺ ก็เห็นการกระทำของเขาทั้งหมดอยู่ตลอดเวลา
3. ท่านนบีย์สอนให้กล่าวหลังการละหมาดทุกครั้ง หมายถึง ในช่วงหลังการละหมาดสิ้นสุดลง หรือ ช่วงท้ายสุดของการละหมาด (ก่อนให้สลาม) ซึ่งเป็นหนึ่งในช่วงเวลาสำคัญที่เน้นให้ผู้ศรัทธาขอดุอาอฺให้มาก
4. ดุอาอฺดังกล่าวข้างต้น สอดคล้องกับการวงวอนและจำนนตนเองต่ออัลลอฮฺในสำนวนหนึ่งของฟาติฮะฮฺที่ว่า
إِيَّاكَ نَعْبُدُ وإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ
(อี้ยาก้านะบู้ดู้ ว่าอี้ยาก้านัสต้าอีน)
ความว่า “แด่ท่านเท่านั้นที่เราจะขออิบาดะฮฺ และแด่ท่านเท่านั้นที่เราจะขอความช่วยเหลือ” อัลฟาติฮะฮฺ
5.เราจะทำหน้าที่ของการเป็นทาสหรือบ่าวอย่างดีและสมบูรณ์ต่ออัลลอฮฺให้มากที่สุด แต่เนื่องเพราะเรามีข้อบกพร่อง และไร้ความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่นี้ได้อย่างสมบูรณ์ เราจึงขอความช่วยเหลือจากพระองค์ ให้พระองค์ประทานความสามารถและช่วยเหลือให้เราทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่นี้ได้อย่างสมบูรณ์และงดงามที่สุด
———————————————
ฺلاَتَحْزَنْ إِنََّ اللهَ مَعَنَا “ท่านจงอย่าเสียใจ แท้จริงอัลลอฮฺอยู่กับเรา”
وَاصْبِرْ وَمَا صَبْرُكَ إِلاَّ بِالله “และจงอดทน และท่านจะไม่สามารถอดทนได้ นอกจากด้วย (เตาฟีกจาก) อัลลอฮฺ”
รู้จักกลุ่มสตรีแห่งทางนำ بَنَاتُُ الْهُدَى http://www.banatulhuda.com/
บ้านเรียนอิสลาม http://islamichomeschool.th.googlepages.com/
บ้านอุมมุซะอฺด أُمُّ سَعْدٌ http://ummusaad.spaces.live.com/
“โอ้อัลลอฮฺ ขอทรงโปรดให้เรามีชีวิตอยู่ด้วยอิสลาม และกลับคืนสู่พระองค์ด้วยอีมาน”
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " ดุอาร์หลังละหมาด ที่ท่านนบีสั่งไม่ให้ทิ้ง "