
ไม่มีการอิจฉายกเว้นในสองกรณี
بسم الله الرحمن الرحيم ۞
••••••┈┈┈••✿••┈┈┈••••••
ไม่มีการอิจฉายกเว้นในสองกรณี
وَعَنْ أَبِي مَسْعُودٍ – رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ – قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ – صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ” لَا حَسَدَ إِلَّا فِي اثْنَتَيْنِ : رَجُلٍ آتَاهُ اللَّهُ مَالًا فَسَلَّطَهُ عَلَى هَلَكَتِهِ فِي الْحَقِّ ، وَرَجُلٍ آتَاهُ اللَّهُ الْحِكْمَةَ فَهُوَ يَقْضِي بِهَا وَيُعَلِّمُهَا ” . مُتَّفَقٌ عَلَيْهِ .
จากท่านอิบนิ มัสอูด ท่านได้กล่าวว่า ท่านรอซูลูลอฮฺ เศาะลอลอฮ์อาลัยหิวาสัลลัม กล่าวว่า: “ไม่มีการอิจฉายกเว้นในสองกรณีคือ บุคคลที่อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่เขาซึ่งทรัพย์สมบัติ เขาก็นำไปใช้ในหนทางของสัจธรรม และบุคคลที่อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่เขาซึ่งความรู้ เขาก็นำไปปฏิบัติและสอนมันให้กับผู้อืน”
: ???? (บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม)
อธิบายหะดิษ :
มีตัวบทหะดิษมากมายและอายัตกุรอานเช่นกันที่บ่งบอกว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรที่จะทำการเสียสละทรัพย์สินของตนตามที่อัลลอฮ์ได้บัญญัติไว้ เช่นเดียวกันกับหะดิษตัวบทนี้ ที่ท่านนบีได้กล่าวว่า :
(( لا حسد إلا في اثنتين))
“ไม่มีการอิจฉายกเว้นในสองกรณี”
อิจฉาความหมายในที่นี้คือ อัลฆิบเตาะห์ คือการหวังในเนียะอ์มัตที่คนอื่นมีแต่ไม่ได้หวังให้เนียะอ์มันของเขาสูญไปจากเขา
นั้นก็คือคนใดคนหนึ่งนั้นจะไม่มีการอิจฉาในสิ่งที่อัลลอฮ์ประทานให้ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรืออื่นๆ นอกเสียจากสองกรณี
:
﴾1﴿ คือเมื่ออัลลอฮ์ได้ประทานทรัพย์สินให้ชายคนหนึ่ง แต่ชายท่านนี้กลับเสียสละทรัพย์สินของเขาในหนทางที่ถูกต้อง กลายเป็นเขาไม่ได้ทำลายทรัพย์สินนั้นโดยเปล่าประโยชน์หรือผิดหลักศาสนา แต่เขาเสียสละหรือจ่ายมันไปในหนทางที่อัลลอฮฺพึงพอใจ
กรณีนี้แหละที่สามารถอิจฉาได้ สมัยนี้ เราก็เห็นพ่อค้ามากมายและหลากหลาย บางคนก็เสียสละทรัพย์สินของเขาในหนทางของอัลลอฮฺ ในสิ่งที่ดี ในการกระทำที่ดี ช่วยเหลือคนยากคนจน สร้างมัสยิด สร้างโรงเรียน ผลิตหนังสือ ช่วยเหลือในการรบ และอื่นๆ เหล่านี้เรียกว่าการเสียทรัพย์สินในหนที่ที่ถูกต้อง
แต่บางคนกลับทำลายทรัพย์สินตัวเองด้วยการเสพสุขกับสิ่งที่หะรอม เดินทางออกนอกประเทศเพื่อทำการซินา ดื่มเหล้า เล่นไพ่ ทำให้ทรัพย์สินสูญหายไปด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺทรงโกรธกริ้ว
ส่วนผู้ใดที่อัลลอฮฺให้เขาเสียสละทรัพย์สินของเขาในหนทางแห่งสัจธรรมนั้น เรียกว่า อัลฆิบเตาะห์ คือหวังในเนียะอฺมัตเช่นที่คนอืนมีโดยไม่ต้องการให้เนียะอฺมัตนั้นหมดไปจากคนอื่น เพราะส่วนใหญ่แล้วคนที่อยากรวยนั้น ทรัพย์สินของเขานั้นเขาคิดที่ใช้ไปด้วยความสนุก ไร้ศิลธรรม
ดังนั้นเมื่อเห็นคนรวยที่ยอมสละทรัพย์สินที่อัลลอฮให้ไปในหนทางของอัลลอฮ์ ก็ควรที่จะต้องอิจฉาที่อยากให้ตัวเองเหมือนเขา
﴾2﴿ ชายที่อัลลอฮมอบความรู้ให้ ประเภทที่สองที่อนุญาติให้อิจฉา คือ ชายที่อัลลอฮฺประทานฮิกมะห์ นั้นก็คือความรู้ความเข้าใจ คำว่าฮิกมะห์ในทีนี้คือความรู้ความเข้าใจ เช่นดังที่อัลลออ์ได้ตรัสไว้ว่า:
وَأَنْزَلَ اللَّهُ عَلَيْكَ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ وَعَلَّمَكَ مَا لَمْ تَكُنْ تَعْلَمُ )(النساء:113)
ความว่า และอัลลอฮฺได้ทรงประทานคัมภีร์ลงมาแก่เจ้า และความเข้าใจในบทบัญญัติแห่งคัมภีร์นั้นด้วย และได้ทรงสอนเจ้าในสิ่งที่เจ้าไม่เคยรู้มาก่อน
ท่านนบีกล่าวว่า :
( فَهُوَ يَقْضِي بِهَا وَيُعَلِّمُهَا )
“คือเขาก็นำไปปฏิบัติและสอนมันให้กับผู้อื่น”
ความว่าให้ตัวเขา ครอบครัวและคนที่ภายใต้การปกครองของเขาปฏิบัติในสิ่งที่เขารู้ และนำความรู้ที่มีอยู่ ไปสอนให้ผู้อื่นรับรู้และปฏิบัติ
ไม่เพียงแค่รอให้ผู้อื่นมาขอความรู้จากเขา แต่เขายอมสละเวลาและตัวเองที่จะนำความรู้นั้นไปเผยแพร่ให้ผู้อืนได้ปฏิบัติ แน่นอนคนประเภทนี้ สามารถเป็นที่อิจฉาของอีกหลายๆคนที่ไม่สามารถทำได้อย่างเขา
:
ผู้ที่อัลลอฮ์ประทานความรู้ความเข้าใจนั้น แบ่งออกเป็นหลายประเภท
﴾1﴿ ประเภทแรก
คือผู้ที่อัลลอฮฺประทานความรู้แก่เขา แต่เขากลับ(ขี้เหนียว)ปกปิดความรู้นั้น แม้แต่กับตัวเขาเอง ไม่เคยใช้ประโยชน์กับความรู้ที่มีอยู่ ไม่ปฏิบัติในการฏออัตต่ออัลลอฮฺ และไม่สามารถยับยังตัวเองในการทำมัวอฺซียาทต่ออัลลอฮฺ คนประเภทนี้เป็นกลุ่มคนขาดทุน (ขออัลลอฮฺหางไกลเราจากสิ่งเหล่านี้ ) ซึ่งไม่ต่างกับพวกยิวที่รู้ว่าสิ่งใหนเป็นสิ่งที่เทียงตรงแต่พวกเขากลับไม่ยอมรับกับสิ่งนั้น (คือพวกยิวนั้นเป็นกลุ่มชนที่มีความรู้ เขาก็รู้ว่านบีมูฮัมมัดเป็นรอซูลคนสุดท้าย อิสลามเป็นศาสนาที่อัลลอฮ์ยอมรับ แต่พวกเขากลับไม่ปฏิบัตตามสิ่งที่ตนรู้ เป็นเพราะศีฟาต ตะกับบูรที่อยู่ในตัว)
﴾2﴿ ประเภทต่อไป
คือประเภททีว่าอัลลอฮฺประทานความรู้ความเข้าใจ เข้าก็ปฏิบัติตามความรู้ที่เขามีอยู่ แต่กลับไม่มีผู้ใดที่สามารถได้ประโยชน์จากความรู้ของเขาเลย แน่นอนเขาย่อมดีกว่าคนประเภทแรก แต่ก็ยังดีไม่สมบูรณ์
﴾3﴿ ประเภทที่สาม
คือประเภททีว่าอัลลอฮฺประทานให้ความรู้ความเข้าใจ เขาก็นำความรู้นั้นไปปฏิบัติให้เป็นปรโยชน์แต่ตนเองและยังความรู้นั้นไปเผยแพร่ให้ผู้คนรับรู้อีก
แน่นอนนี้คือประเภทที่ดีที่สุดจากบรรดาประเภทบุคคลก่อนประเภทที่สี่ คือประเภทที่อัลลอฮฺไม่ได้ประทานความรู้ความเข้าใจแก่เขา เขาคือผู้ที่โง่เขลา บุคคลประเภทนี้เขาจะไม่ได้รับความดีใดๆ แต่เขายังดีกว่าบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องศาสนา แต่กลับไม่ปฏิบัติและไม่เผยแพร่กับความรู้ที่ได้มา..เพราะคนที่ไม่มีความรู้ ก็ยังมีความหวัง หากเขามีความรู้เขาจะอาจนำความรู้นั้นไปปฏิบัติและไปเผยแพร่ต่อผู้คน..
:
แหล่งข้อมูล :
➖➖➖➖➖➖➖
Publisher ???? : น้ำหมึกแห่งประชาชาติ
ตรวจทาน ???? : ครูสาริณี
✿ Origin : ﴾ อ้างแล้ว ﴿
➖➖➖➖➖➖➖
???? : internet »
Presentation : ชมรมน้ำหมึกแห่งประชาชาติ
✿ https://line.me/R/ti/p/%40eau1616w
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " ไม่มีการอิจฉายกเว้นในสองกรณี "