ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันอาทิตย์, 5 พฤษภาคม 2567

จงหลีกเลี่ยงการโต้เถียง ถึงเราเป็นฝ่ายถูกก็ตาม

เราถูก เราเถียงดีไหม ?

ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ‘ฉันรับประกันด้วยกับบ้านหลังหนึ่งข้าง ๆ สวรรค์ สำหรับคนละทิ้งการโต้เถียง ทั้ง ๆ ที่เขาสมควรเถียง (เพราะเขาถูกต้อง) และฉันรับประกันด้วยบ้านหลังหนึ่งใจกลางสวรรค์ สำหรับผู้ละทิ้งการโกหก แม้ว่าจะเป็นการพูดเล่น และฉันรับประกันด้วยบ้านหลังหนึ่งสูงสุดในสวรรค์ สำหรับคนที่มารยาทดี

[บันทึกโดยอบูดาวูด]

..
อีกฮะดิษ ที่เป็นตัวอย่างที่ดี

ครั้งหนึ่ง ท่านนบีศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั่งอยู่กับอบูบักร อัศศิดดีก ร่อฎิยัลลอฮุ อันฮฺ มีชายคนหนึ่ง กล่าวหาว่าร้ายต่อท่านอบูบักร ท่านอบูบักรไม่โต้ตอบอะไร ท่านนบียิ้ม และพอใจ ครั้นเมื่อชายผู้นั้น ว่าร้ายมากขึ้น ท่านอบูบักร จึงตอบโต้ ท่านนบีไม่พอใจ และลุกออกมา เมื่อท่านอบูบักรมาหาท่านนบี รีบถามว่า’โอ้ ท่านร่อซุลฯ เขาว่าร้ายฉัน ท่านก็นั่งอยู่กับฉัน จนกระทั่ง พอมันมากไป และฉันตอบกลับ ท่านก็โกรธและลุกขึ้นไป ทำไมหรือ ?’ท่านนบีตอบว่า’ตอนแรก มลาอิกะฮ โต้ตอบแทนท่าน และเมื่อท่านสวนตอบเขาไป ชัยฏอนก็มาแทนที่ และฉันก็ไม่ชอบนั่งร่วมกับชัยฏอน’

[ฮะดิษ บันทึกโดยอะฮหมัด , ศอฮีฮ อัลบานีย์]

..

ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวอีกว่า ‘เพียงพอแล้ว ที่เจ้าจะบาป หากเจ้ายังคงโต้เถียงอยู่เรื่อยร่ำ’- บางการเถียงอาจบาป บางการเถียงอาจไม่ได้บาป แต่การละทิ้งบางการโต้เถียงนั้นอาจได้ผลบุญ .

——–

ฮะดิษแรก

روى أبو داود عن أبي أمامة -رضي الله عنه- أن رسول الله -صلى الله عليه وسلم- قال
“أنا زعيم ببيت في ربض الجنة لمن ترك المراء وإن كان محقا، وببيت في وسط الجنة لمن ترك الكذب وإن كان مازحاً، وببيت في أعلى الجنة لمن حسَّن خُلُقَه ” رواه أبو داود، في كتاب: الأدب، باب:في حسن الخلق، رقم الحديث: (4800).

ฮะดิษที่ ๒

وعن أبي هريرة رضي الله عنه: ((أن رجلًا شتم أبا بكر والنبي صلى الله عليه وسلم جالس، فجعل النبي صلى الله عليه وسلم يعجب، ويتبسم، فلما أكثر ردَّ عليه بعض قوله؛ فغضب النبي صلى الله عليه وسلم، وقام فلحقه أبو بكر، فقال: يا رسول الله، كان يشتمني وأنت جالس، فلما رددت عليه بعض قوله غضبت وقمت، قال: إنه كان معك مَلَك يردُّ عنك، فلما رددت عليه بعض قوله وقع الشيطان؛ فلم أكن لأقعد مع الشيطان.

ฮะดิษที่ ๓

(( كفى بك إِثما: أنْ لا تزالَ مُخاصِما ))
[ أخرجه الترمذي عن: عبد الله بن عباس

เครดิต:Asmara Niqoob