ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันอังคาร, 7 พฤษภาคม 2567

แอลกอฮอร์ในน้ำหอม-​ยาล้างแผล เป็นนายิสหรือไม่

بسم الله الرحمن الرحيم

الحمد لله رب العالمين و الصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلي اله وصحبه أجمعين

ก่อนอื่น ผมใคร่จะขอกล่าวถึงประเภทของแอลกอฮอร์ดังนี้นะครับ  

แอลกอฮอร์ที่รู้จักกันดีมีสองประเภท คือ  

1. เมธิลแอลกอฮอล์  ซึ่งได้มาจากการกลั่นสลายไม้บางชนิด เรียกว่าเป็นของเหลว ไม่มีสี ติดไฟได้ดี มีกลิ่นเฉพาะตัว เป็นพิษต่อร่างกายถ้าได้สูดดมหรือรับประทาน ประโยชน์ใช้เป็นเชื้อเพลิงและเป็นตัวทำละลาย ใช้เป็นสารป้องกันการแข็งตัวของน้ำในหม้อน้ำรถยนต์

2. เอธิลแอลกอฮอล์เตรียมได้จากการหมักแป้ง และน้ำตาลหรือผลไม้ โดยมียัสต์เป็นตัวเร่ง ซึ่งเรียกว่าการหมัก เป็นของเหลว มีกลิ่นหอม ติดไฟให้ความร้อนสูงไม่มีเขม่า ละลายน้ำได้ดี เป็นตัวทำละลาย ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค ทำสุรา

ประเภทแรกจะใช้เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เกี่ยวข้องสิ่งบริโภค เช่น นำมาผสมกับน้ำหอม เป็นต้น ส่วนประเภทที่สองนั้น จะเป็นแอลกอฮอล์ชนิดของเหล้า จะใช้กับสิ่งที่บริโภคได้ เช่นนำมาผสมกับ น้ำยาบ้วนปาก ยาฆ่าเชื้อ ผสมกับยาบางชนิด เช่นยาแก้ไอ ยาน้ำแก้ท้องเสีย เป็นต้น

ผมขอชี้แจงโดยแยกประเด็นดังนี้ครับ 

ประเด็นที่หนึ่ง : หากน้ำหอมหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมจากแอลกอฮอล์ประเภท เมธิล นั้นถือว่าอนุญาตให้นำมาใช้ได้ เพราะไม่ใช่นายิสแต่ประการใด ตรงนี้ถือว่าไม่มีปัญหา

ประเด็นที่สอง : เอธิลแอลกอฮอล์ที่ผสมกับ ยาบางชนิดในปริมาณที่น้อยนั้น เช่น น้ำยาฆ่าเชื้อโรค ยาแก้ไอ และยาน้ำแก้ท้องเสีย เป็นต้น ถือว่ามะอัฟ(ผ่อนปรน)ให้รับประทานนะและนำมาเช็ดแผลเพื่อฆ่าเชื้อโรคครับ  เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ จะไปหายาอื่น ๆ ที่ไม่มีส่วนผสมก็จะลำบาก แต่ถ้าหากมียาอื่น ๆ ที่ไม่มีส่วนผสมแอลกอฮอร์ ก็ถือว่าจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวนั้นนะครับ ส่วนน้ำยาป้วนปากที่ผสมกับแอลกอฮอล์ชนิดเหล้านั้น ถือว่าไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องใช้ แต่ถ้าหากอยู่ในช่วงที่ช่วงปากติดเชื้อ ก็ถือว่าอนุญาตให้นำมาใช้ได้ตามที่จำเป็นเท่านั้น แล้วก็บ้วนน้ำยานั้นทิ้งด้วยน้ำสะอาด

ประเด็นที่สาม : ในกรณีของน้ำผลไม้บรรจุกล่อง เช่นน้ำส้ม น้ำสัปรด ที่สามารถเก็บไว้ได้นานแล้วก็เกิดปฏิกิริยาเกิดเป็นแอลกอฮอล์มานั้น ถือว่าอนุญาตให้ดื่มได้ เพราะว่าหากเกิดแอลกอฮอล์ขึ้นจริง ก็อยู่ในปริมาณที่น้อยมาก ถือว่ามะอัฟ (ผ่อนปรนให้รับประทานได้) เพราะเป็นเรื่องที่ลำบากที่เราจะไปตรวจสอบ แต่ถ้าหากเกิดแอลกอฮอร์ขึ้นมาในปริมาณที่มากหรือดื่มแล้วทำให้เหมา ถือว่าฮะรอมอย่างเด็ดขาดครับ

ประเด็นที่สี่ : ในกรณีของน้ำหอมที่ผสมกับแอลกอฮอล์ประเภทเอธิล ที่เป็นแอลกอฮอล์ประเภทเหล้านั้น เท่าที่ศึกษาดูแล้ว อุลามาอ์ในปัจจุบันต่างวินิฉัยกัน ผลออกมาก็มี 2 ทัศนะ คือทัศนะแรกบอกว่า นำมาใช้ไม่ได้เพราะน้ำหอมนั้นเปื้อนนะยิส ส่วนทัศนะที่สองบอกว่า นำมาใช้ได้เพราะว่ามีจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น แต่ก็ต้องผสมในปริมาณที่น้อย เมื่อเป็นเช่นนี้ การที่บอกว่าฮะรอมหรือไม่ฮะรอมนั้น จึงเป็นเรื่องที่คาดการณ์ คือไม่เด็ดขาด ดังนั้น ก็ผมก็ขอให้พี่น้องเลือกเอาตามสะดวกครับ ท่านใดที่สะดวกและมีน้ำหอมแบบไม่มีแอลกอฮอล์ ก็ถือว่าอัลฮัมดุลิลลาฮ์ แต่พี่น้องท่านใดสะดวกหาซื้อน้ำหอมที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ชนิดเอธิลนี้ ก็ผ่อนปรนให้ท่านเลือกทัศนะที่อนุญาตให้นำมาใช้ได้ และการขัดแย้งในเรื่องทัศนะของอุลามาอ์ถือว่าเป็นความเมตตา(เราะฮ์มะฮ์) ก็เฉกเช่นเรื่องนี้แหละครับ 

ส่วนคำถามที่ว่า ทัศนะของเชค ด๊อกเตอร์ มุฮัมสะอีด รอมะฏอน อัลบูฏีย์ นั้น สำหรับมัซฮับอะไร ? ผมขอตอบว่า ประเด็นนี้เป็นประเด็นร่วมสมัย  มัซฮับของผู้ถาม (มุก๊อลลิด) ก็คือมัซฮับของผู้ไขปัญหา(มุฟตี)ที่เราพอใจจะถามนั่นเอง ส่วนผมไม่ใช่มุฟตีนะครับ ผมแค่นากิล(ผู้ถ่ายทอดทัศนะ)จากท่านอุลามาอ์อื่น ๆ มาอีกที  

والله تعالى أعلى وأعلم

อ.อารีฟีน แสงวิมาน