ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันอังคาร, 7 พฤษภาคม 2567

รวบแก๊งซ้ำเติม! รีดไถผู้อพยพโรฮิงยากลางแม่น้ำ ถ้าไม่ให้ขู่โยนจากเรือ

TOPSHOT – A Bangladeshi man helps Rohingya Muslim refugees to disembark from a boat on the Bangladeshi shoreline of the Naf river after crossing the border from Myanmar in Teknaf on September 30, 2017.
More than 2,000 Rohingya have massed along Myanmar’s coast this week after trekking from inland villages in Rakhine state to join the refugee exodus to Bangladesh, state media reported September 30. They follow more than half a million fellow Rohingya who have emptied out of northern Rakhine in a single month, fleeing an army crackdown and communal violence the UN says amounts to “ethnic cleansing”.
/ AFP PHOTO / FRED DUFOUR

เมื่อวันที่ 3 ต.ค. เอเอฟพีรายงานความคืบหน้าวิกฤตชาวโรฮิงยาอพยพหนีภัยเข้าไปในประเทศบังกลาเทศมากกว่า 507,000 คนและยังไม่ยุติ มีอีก 10,000 คนมารอข้ามแดน ว่ามีชาวโรฮิงยาบางส่วนถูกกลุ่มผู้ฉกฉวยโอกาสจับตัวไปกักขังและเรียกเงิน ทำให้เจ้าหน้าที่บังกลาเทศต้องนำกำลังเข้าช่วยเหลือได้อีก 20 คน หลังจากสัปดาห์ก่อนช่วยไว้ได้ถึง 2,000 คน

พันตรีรุฮุล อามิน ผู้บัญชาการหน่วยปฏิบัติการพิเศษเคลื่อนที่เร็วของกองทัพบังกลาเทศกล่าวว่า ทางหน่วยนำกำลังเข้าจู่โจมและให้ความช่วยเหลือชาวโรฮิงยาจำนวน 20 คน ในจำนวนนี้มีสตรี 7 และเด็ก 8 คน ตกเป็นเหยื่อกลุ่มฉกฉวยโอกาสในเมืองค็อกซ์บาซาร์ ที่กักขังชาวโรฮิงยาไว้ เนื่องจากไม่มีเงินจ่ายค่าเรือข้ามฟากจากพม่ามายังบังกลาเทศ เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ก่อเหตุไว้ได้ 3 คน รวมกับผู้ก่อเหตุก่อนหน้านี้ที่จับได้แล้ว 20 คน

วิธีการของแก๊งรีดไถนี้จะเรียกเงินหัวละ 250 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 8,300 บาทหลังพาชาวโรฮิงยามาถึงฝั่ง เหยื่อระบุว่าถูกกลุ่มผู้ขับเรือข้ามฟากบีบบังคับและปล้นทรัพย์สินมีค่าที่พอจะมีเหลือติดตัวไปทั้งหมด หากไม่ยินยอมก็ขู่ว่าจะโยนพวกตนลงจากเรือ แต่เมื่อมาถึงฝั่งก็ขังพวกตนไว้แล้วเรียกเก็บเงินค่าจ้างอีก

Rohingya Muslim refugees who had just arrived wait for a place to stay at Bangladesh’s Balukhali refugee camp on October 2, 2017. AFP PHOTO / FRED DUFOUR

นอกจากนี้ บังกลาเทศยังพบปัญหาการลักลอบเกณฑ์ชาวโรฮิงยาในค่ายอพยพกลับไปสู้รบกับกองทัพพม่า จากการที่กลุ่มติดอาวุธอาร์ซาพยายามใช้สถานที่ดังกล่าวเพื่อหาแนวร่วมเพิ่มเติม ฉวยโอกาสจากความโกรธแค้นของชาวโรฮิงยาที่มีต่อกองทัพพม่า สถานการณ์นี้ทำให้บังกลาเทศต้องส่งตำรวจนอกเครื่องแบบลงพื้นที่ในค่ายด้วย

 AFP PHOTO / FRED DUFOUR

วันเดียวกัน เจ้าหน้าที่บังกลาเทศเปิดเผยผลการเจรจากับเจ้าหน้าที่ทางการพม่าเรื่องรับผู้อพยพกลับรัฐยะไข่ ทางพม่าที่มีนายจอ ทินต์ฉ่วย เป็นหัวหน้าคณะ แจ้งว่าจะรับเฉพาะคนที่หนีภัยออกจากประเทศตอนวิกฤตในปี 2559 เท่านั้น จาก 6 แสนคนที่อพยพตั้งแต่เดือนต.ค.ปีก่อน แต่ 5 แสนคนที่อพยพในช่วง 5 สัปดาห์มานี้ยังไม่รับกลับ

ที่มาของเนื้อหา : www.khaosod.co.th