ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันพุธ, 15 พฤษภาคม 2567

อนามัยโลกเตือน ค่ายผู้ลี้ภัยโรฮิงญาในบังกลาเทศเสี่ยงอหิวาตกโรคระบาด

องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนในวันจันทร์ (25 กันยายน) ถึงความเสี่ยงเกิดโรคอหิวาตกโรคในค่ายผู้ลี้ภัยชั่วคราวในบังกลาเทศที่ชาวมุสลิมเชื้อสายโรฮิงญากว่า 435,000 คนใช้เป็นที่ลี้ภัยจากความรุนแรงในพม่า

หลังจากการอพยพครั้งใหญ่เริ่มต้นหนึ่งเดือนเต็ม ผู้ลี้ภัยที่กระจัดกระจายอยู่ในค่ายและชุมชนราว 68 แห่งตามแนวพรมแดนไม่ได้น้ำดื่มน้ำสะอาดและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขอนามัย ตามรายงานของ WHO

หลายค่ายเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารและยาในสิ่งที่กลายเป็นหนึ่งในชุมชนผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างรวดเร็ว

“ความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากน้ำมีสูง โดยเฉพาะมีความเสี่ยงสูงอย่างมากจากอหิวาตกโรค และนี่คือเหตุผลที่ทุกคนเป็นกังวล” WHO กล่าวในถ้อยแถลง

“การแทรกแซงกำลังเพิ่มมากขึ้น ถึงกระนั้น สถานการณ์ก็ยังคงร้ายแรงและเป็นปัญหาอยู่”

การไหลทะลักรอบล่าสุดนี้ท่วมท้นค่ายต่างๆ รอบเมืองคอกซ์บาซาร์ซึ่งเป็นที่พักพิงให้กับคนอย่างน้อย 300,000 คนที่หลบหนีความรุนแรงครั้งก่อนหน้าในรัฐยะไข่ของพม่าอยู่ก่อนแล้ว

WHO ระบุว่า ศูนย์การแพทย์เคลื่อนที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในขณะที่หน่วยงานสาธารณสุขของบังกลาเทศระบุว่า พวกเขารักษาชาวโรฮิงญา 4,500 คนที่มีอาการท้องร่วงในช่วงหนึ่งเดือน และฉีดวัคซีนกันโรคหัดและโปลิโอให้กับเด็กราว 80,000 คน

“เรากำลังพยายามสุดความสามารถเพื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆ แต่เราเป็นกังวล” อีนาเย็ต ฮุสเซน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขของบังกลาเทศ บอกกับ AFP

กระทรวงฯ ระบุว่า ชาวโรฮิงญาอย่างน้อย 10 คนเสียชีวิตในบังกลาเทศนับตั้งแต่การไหลทะลักดังกล่าว ส่วนใหญ่เนื่องจากถูกยิงและบาดแผลจากการเหยียบกับระเบิดในรัฐยะไข่

ชาวชราชาวโรฮิงญาสองคนเสียชีวิตจากโรคท้องร่วงที่คลินิกการกุศลเมื่อกว่าหนึ่งสัปดาห์ที่แล้ว มิสบาห์ อุดดิน อะห์หมัด เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข กล่าวที่เขตอูเคียซึ่งค่ายส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่นี่

“พวกเขายังป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนจากวัยชราและกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบด้วย” เขาบอกกับ AFP

หญิงชาวโรฮิงญาสองคนวัย 50 และ 60 ปีถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในเมืองท่าชิตตากองหลังจากเธอถูกวินิจฉัยพบเชื้อ HVI

อะห์หมัดดล่าวว่า ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์การวิจัยโรคอุจจาระร่วงนานาชาติ (International Centre for Diarrhoeal Disease Research : ICDDRB) ของบังกลาเทศและนักวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลไปเยือนค่ายหลายแห่งเพื่อเก็บตัวอย่าง

“พวกเขาจะจัดตั้งสถานีท้องถิ่น 2 แห่งขึ้นที่นี่” เพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤตินี้

ที่มาของเนื้อหา : i-newsmedia.net