ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันจันทร์, 29 เมษายน 2567

เมียนมาตัดพ้อโลกมองข้ามชาติพันธุ์กลุ่มอื่นในรัฐยะไข่

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 20 ก.ย. ว่านายเฮนรี แวน เตียว รองประธานาธิบดีคนที่ 2 ของเมียนมา กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ( ยูเอ็นจีเอ ) เมื่อวันพุธ มีสาระสำคัญว่าสถานการณ์ในรัฐยะไข่ "ดีขึ้นมากแล้ว" โดยยังไม่มีการสู้รบระลอกใหม่เกิดขึ้น นับตั้งแต่วันที่ 5 ก.ย. เป็นต้นมา แม้สถานการณ์รุนแรงก่อนหน้านั้นย้อนไปจนถึงวันที่ 25 ส.ค. ที่เป็นภารกิจของกองทัพในการตอบโต้การโจมตีของ "ฝ่ายกบฏ" ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 400 คน และประชาชนอีกมากกว่า 422,000 คน ต้องลี้ภัยออกจากพื้นที่ โดยส่วนใหญ่เลือกข้ามพรมแดนไปยังบังกลาเทศ
 

World oblivious to suffering of other minorities in Rakhine, says #Myanmar Vice-President at #UNGA https://t.co/im4pT9wN9j pic.twitter.com/ZJNgceBaKp

— UN News (@UN_News_Centre) September 21, 2017

#Myanmar Vice #President H.E Henry Van Thio's speech#UN General Assembly
09. 20. 2017 @ 8:10PM https://t.co/OyOLw2mKDS @Lsomaungmaung1 pic.twitter.com/vIkF1hRsp9

— Oo Oo Aye (@OoOoAye8888) September 21, 2017

อย่างไรก็ตาม รองผู้นำเมียนมากล่าวว่าว่า รัฐบาลได้กำชับให้กองทัพพยายามหลีกเลี่ยงการทำร้ายพลเรือนผู้บริสุทธิ์ และระมัดระวังการเกิด "ความเสียหายข้างเคียง" หรือได้รับ "ลูกหลง" จากปฏิบัติการ และในความเป็นจริงแล้ว ประชาชนซึ่งกำลังเดือดร้อนอย่างหนัก จากการหลบหนีการสู้รบในรัฐยะไข่ไม่ได้มีแต่เพียงชาวมุสลิม แต่ยังมีชาวฮินดูและชาวพุทธ ตลอดจนกลุ่มชาติพันธุ์อีกหลายกลุ่มด้วย ซึ่งบุคคลใดก็ตามที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิกฤติด้านมนุษยธรรมและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในครั้งนี้ ต้องได้รับการลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม "ที่มีความเข้มงวด"


 
ขณะเดียวกัน รัฐบาลเมียนมากำลังพยายามอย่างสุดความสามารถในการสืบสวนและวิเคราะห์ให้ถึงรากเหง้าที่นำไปสู่การหลั่งไหลออกนอกประเทศของประชาชนจำนวนมหาศาล และยืนยันว่าผู้ได้รับความเดือดร้อนทุกคนจะได้รับการช่วยเหลืออย่างเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการแบ่งแยก

นอกจากนี้ แวน เตียว กล่าวด้วยว่ารัฐบาลเมียนมากำลังพยายามอย่างหนักในการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับบังกลาเทศ และย้ำกับทุกฝ่ายว่ากระบวนการถ่ายโอนอำนาจตามระบอบประชาธิปไตยของเมียนมา เป็นขั้นตอนที่ "เปราะบาง" แต่ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งรัฐบาลยินดีต้อนรับรมว.กระทรวงมหาดไทยของรัฐบาลธากา ในการหารือเพื่อปรับปรุงมาตรการควบคุมพรมแดนร่วมกัน ทั้งนี้ ตลอดช้วงเวลาของการกล่าวถ้อยแถลง รองผู้นำเมียนมาไม่ได้เอ่ยคำว่าโรฮีนจาหรือเบงกาลีออกมาแม้แต่ครั้งเดียว ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายของทุกฝ่าย

การขึ้นเวทีกล่าวสุนทรพจน์ของรองผู้นำเมียนมาเกิดขึ้นท่ามกลางแรงกดดันอย่างหนักของประชาคมโลกที่มีต่อรัฐบาลของนางออง ซาน ซูจี และกองทัพเมียนมา ในการเร่งแก้ไขสถานการณ์ในรัฐยะไข่ และวิกฤติด้านมนุษยธรรมของชาวโรฮีนจา.
    
    
    
    
   

ที่มาของเนื้อหา : www.dailynews.co.th