ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันจันทร์, 29 เมษายน 2567

ตอบชัดทุกประเด็น ทำไม kfc ในไทยไม่ฮาลาล

ทำไม kfc ในไทยไม่ฮาลาล ตอบชัดทุกประเด็น

บทความโดย:  วารสาร คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (กอท.)

ประเด็นเกี่ยวกับ KFC ในประเทศไทย มีคำถามมากมายว่า ที่มาเลเซีย ฮาลาล อินโดนีเซีย ฮาลาล สิงคโปร์ บรูไน ฮาลาล ประเทศไทยไม่ฮาลาล ทําไมไม่ฮาลาลเครื่องปรุงก็เหมือนกัน

ที่พูดนั้นเป็นวิทยาศาสตร์ฮาลาล เรากําลังพูดถึงชารีอะห์ฮาลาลไม่เหมือนกัน ฮาลาลเป็นเรื่องศาสนา แต่วิทยาศาสตร์ฮาลาลต้องสนับสนุนชารีอะห์ ยกตัวอย่างเช่น เชือดสัตว์ “อ่านบิสมิลลาฮิ อัลลอฮุอักบัร” เชือดด้วยมีดเดียว ตัดหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ หลอดลม หลอดอาหาร ขั้นตอนถูกต้อง การเชือดไก่ถูกต้อง แต่คนเชือดไม่ใช่มุสลิม ฮาลาลไหม?

ประเด็นที่ 1

เรื่อง KFC ประเด็นนี้เกิดมา 20 ปีแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาเกิด จะพบว่า KFC ไทย ไม่ค่อยให้เกียรติมุสลิม ไม่ขอการรับรองฮาลาล ไม่ได้รับการรับรองฮาลาลแต่นำมุสลิมไปคลุมผม ให้ทำงานหน้าร้าน การจะรับรองฮาลาลให้หรือไม่ จะต้องดูที่เจตนา KFC ที่มาทำเฟรนไชส์ในประเทศไทย มี 2 กลุ่ม

คือบริษัท เซ็นทรัล เรสเทอรองค์ กรุ๊ป และบริษัท ยัม เรสเทอรองค์อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งทั้ง 2 กลุ่ม เมื่อไปเปิดเฟรนไชน์ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ ได้ทำสัญญากับองค์กรศาสนาในประเทศนั้น ๆ ว่าจะทำฮาลาล แต่ในกรณีประเทศไทยทั้ง 2 กลุ่มไม่ขอฮาลาล เมื่อบริษัทไม่ขอ ฮาลาลประเทศไทยก็ให้ไม่ได้

อิสลามสำคัญที่สุด คือ เจตนา (เหนียต) ในทางอุตสาหกรรมถ้าบริษัทที่ต้องการทำระบบ GMP, HACCP มาขอทำ GMP พนักงานรวมกัน 2-3 คน ต้องการให้ทำ ต้องการเอกสารอะไรต่าง ๆ เตรียมให้ทุกอย่าง ถามว่าจะมีหน่วยงานไหนทำให้ไหม? ทำได้ไหม? ไม่ได้ ทำไมทำไม่ได้ ถ้า CEO ผู้บริหารของบริษัทไม่บอกว่าทำ ไม่ลงนามไม่สัญญาว่าถ้าเกิดปัญหาแล้วจะแก้ไข GMP, HACCP ก็ทำไม่ได้ ในเมื่อ GMP, HACCP ขึ้นอยู่ที่เจตนาเหมือนกัน ถ้าไม่มีเจตนาก็ทำไม่ได้

HALAL เหนือกว่า GMP, HACCP ซึ่งถ้าเจ้าของ KFC ไม่มีเจตนาทำฮาลาล ก็ให้ฮาลาลไม่ได้เช่นกัน ซึ่งในอดีตในสมัยรอซูลุลเลาะฮ์ เมื่อมีคำสั่งให้เลิกดื่มเหล้า บรรดา มุสลิมก็จะนำเหล้ามาเททิ้งแต่มีคนหนึ่งที่เป็นคนหมักเหล้าขาย ก็มาถามรอซูลุลเลาะฮ์ว่า ถ้าเขาไม่เอาเหล้าที่หมักไว้มาเททิ้ง แต่จะหมักเป็นน้ำส้มสายชูได้หรือไม่ ท่ารอซูลุลเลาะฮ์ตอบว่า ให้ยึดตามเจตนาตอนแรก ชายคนดังกล่าวจึงต้องเทเหล้าหมักทิ้ง

การที่ผู้บริหารระดับสูงของ เฟรนไชน์ไม่มีเจตนา ที่จะขอฮาลาล แต่ผู้จัดการในระดับพื้นที่หรือสาขามายื่น ขอฮาลาล จึงไม่สามารถรับรองฮาลาลได้ แตกต่างจากในซาอุดิอารเบียหรือมาเลเซีย ที่บริษัทแม่มีเจตนาที่จะขอฮาลาล จึงได้รับการรับรองฮาลาล ซึ่งจะเห็นได้ว่า KFC ไทย ไม่แฟร์ดำเนินการไม่ถูกต้อง

ประเด็นที่ 2

พวกเราอาจไม่ทราบว่า ไก่ที่ใช้ใน KFC มีทั้งไก่ที่ ฮาลาล และไม่ฮาลาล ไก่ซีพีทั่วประเทศไม่ใช่ฮาลาลทุกตัว แต่บางตัวอาจไม่ฮาลาล เพราะกระบวนการทำธุรกิจของบริษัทในเครือซีพี คือมีทั้งโรงงานเป็นของตัวเองและจ้างเกษตรกรเลี้ยงไก่ มี 2 กลุ่ม คือไก่ที่มีกระบวนการทำให้ฮาลาลและไม่มีกระบวนการทำให้ฮาลาล ซึ่งไก่ที่มีฮาลาลมีราคาสูงกว่า เมื่อลูกค้าของเขาไม่ได้ขอรับรองฮาลาล ทางซีพีก็จัดไก่ที่ไม่ฮาลาลให้ เพราะมีต้นทุนที่ถูกกว่า กระบวน การทำเฟรนไชน์ ไม่ใช่บริษัทแม่ที่อเมริกาเป็นเจ้าของ ตัวคนซื้อเฟรนไชน์คือคนไทยเป็นเจ้าของ เจ้าของมีอิสระที่จะจัดซื้อไก่ ถ้าไม่ได้ขอรับรองฮาลาล ก็มีสิทธิ์ที่จะเอาไก่จากที่ไหนก็ได้ ไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์ในการควบคุม

ในมาเลเซียมีร้านของ KFC ประมาณ 500 สาขา ซึ่งน้อยกว่าประเทศไทยที่มีประมาณ 550 สาขาเคยมีการ ทำวิจัยว่าหากร้าน KFC ในมาเลเซียถอดเครื่องหมายรับรอง ฮาลาลออก คนมาเลเซียจะกินอยู่อีกไหม คนมาเลเซียเกือบ 100% ตอบทันทีว่าจะเลิกกินทันที นี่คือคุณภาพมุสลิมในประเทศนั้น

จากมติที่ประชุมของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยล่าสุด ณ โรงแรมเกรซแลนด์แอน สปาจังหวัด ภูเก็ต เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2557  มี 4 ประเด็น ที่สำคัญคือ

ไม่ให้การรับรองและไม่ให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลกับ KFC และเฟรนไชน์ สองจังหวัดคือ จังหวัดภูเก็ตและกระบี่ ที่ให้การรับรองไปแล้วเมื่อหมดอายุไม่ให้มีการต่ออายุ ให้มีกระบวนการเจรจาถ้า KFC หรือเฟรนไชน์ ที่เป็นบริษัทแม่มีความตั้งใจจริง ที่จะขอการรับรองฮาลาลทั้งระบบทั่วประเทศเท่านั้น จึงจะให้การรับรองและให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลได้และให้สามารถปรับลดค่าธรรมเนียมได้ตามความเหมาะสมรายจังหวัดตามความหนาแน่นของประชากรมุสลิม

ประเด็นสุดท้ายให้กรรมการกลางฯ และกรรมการอิสลามทั้ง 43 จังหวัด รณรงค์ไม่ให้ มุสลิมไปกินอาหารที่ไม่มีการรับรองและให้ตราเครื่องหมาย รับรองฮาลาลอย่างจริงจัง

เป็นข้อมูลที่กะทัดรัดสั้นและชัดเจน ตรงไปตรงมา ที่อธิบายด้วยหลักการศาสนาหรือชารีอะห์ ที่สอดคล้องกับหลักทางวิทยาศาสตร์ฮาลาล ซึ่งจะเป็นประเด็นให้มีข้อยุติ การฟิตนะห์อย่างชัดเจนที่มุสลิมไทยจะได้ใช้วิจารณญาณ ในการตัดสินใจกินหรือไม่กินผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มีการรับรองฮาลาลต่อไป

http://news.muslimthaipost.com/news/34125