ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันพฤหัสบดี, 2 พฤษภาคม 2567

ประเด็นชวนคิด ข้อคิดดีๆ เกี่ยวกับประกาศจุฬาราชมนตรี

ความเคลื่อนไหวประเทศไทยวันนี้
เรื่อง การประกาศจากสำนักจุฬาราชมนตรี

1. ท่านจุฬาประกาศผ่อนปรน ผู้ที่ต้องการไปละหมาดวันศุกร์ สามารถละหมาดได้ แต่ให้อยู่ในมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม และทางมัสยิดต้องจัดเตรียมแอลกอฮอล์ และส่วนควบอื่นๆให้พร้อมสำหรับผู้มาประกอบศาสนกิจ

2. มีคนที่ดีใจกับข่าวที่ 1 เพราะจะได้ปฏิบัติศาสนกิจต่างๆในเดือนรอมฎอน ที่มัสยิดได้ บางคนถึงกับตื้นตัน น้ำตาไหล

3. มีคนที่ไม่เห็นด้วย และเห็นใจท่านจุฬาเพราะเชื่อว่าท่านจุฬาถูกกดดัน

4. มีพี่น้องแสดงความห่วงใยว่า หากผ่อนปรนดังกล่าว จะเกิดการแพร่ระบาดหนักขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัด ที่ยังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง

5. มีพี่น้องแสดงความห่วงใจว่า หากมุสลิม รวมตัวกันที่มัสยิดได้ จะเป็นการทำให้พี่น้องต่างศาสนิกเกิดความไม่สบายใจหรือไม่ เพราะชาวไทยต่างศาสนิก ยังคงยึดมาตรการงดเว้นการชุมนุม และการประกอบศาสนกิจในศาสนสถานอยู่

ความคิดเห็นส่วนตัวของผม

1.ท่านจุฬาเป็นผู้นำของผู้นับถือศาสนาอิสลามทั้งทางพฤตินัย และนิตินัย และเป็นสถาบันที่ได้รับการรับรองจากทางราชการและเอกชนทุกแขนงในประเทศ ดังนั้น เมื่อเป็นประกาศจากท่านจุฬา หากรู้สึกไม่เห็นด้วยอย่างไรก็ตามมิควรในการกล่าวถึงด้วยคำพูดที่ดูหมิ่น ล่วงเกิน

2. สำหรับท่านที่เห็นด้วย และต้องการไปทำอิบาดะห์ที่มัสยิด ท่านก็สามารถทำได้ อย่างสบายใจ แต่ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม ดั่งที่สำนักจุฬาฯ ได้กำชับ เพื่อตัวท่านเองและครอบครัว จะได้ไม่สัมผัสและแพร่กระจายเชื้อโรคระบาด

3. สำหรับท่านที่ไม่เห็นด้วย ท่านก็ยังคงสามารถที่จะยึดประกาศก่อนหน้าของท่านจุฬา ท่านอนุญาต แต่มิได้บังคับ ขึ้นอยุ่กับสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ ซึ่งตัวท่านเองจะทราบข้อมูลดี ว่าการเดินทางไปรวมตัวกันอิบาดะห์ในขณะนี้ ในพื้นที่ของท่าน มีความเสี่ยงหรือไม่ หากท่านเห็นว่าเป็นความเสี่ยงสุง ก็ถือเป็นความจำเป็นที่ต้องยึดถือประกาศก่อนหน้า อิบาดะห์ที่บ้าน
ท่านจุฬา เป็นผู้นำผู้นับถือศาสนาอิสลามของมุสลิมทั้งประเทศ แต่ละจังหวัด แต่ละหมู่บ้านมีการแพร่ระบาด มีผู้ติดเชื้อที่แตกต่างกัน ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ควรจะนำมาเป็นประเด็นในการถกเถียง โต้แย้ง โดยเฉพาะเดือนนี้ คือเดือนรอมฎอน

ใครประสงค์ทำอิบาดะห์ที่มัสยิด ท่านจุฬาก็อนุญาต

ใครทราบดีว่าพื้นที่ตนเองยังเสี่ยงสูง ก็ให้อิบาดะห์ที่บ้านของตนเอง

ประเทศนี้กว้างใหญ่ มีปัจจัย และสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน สิ่งที่ทำได้กับบางที่ อีกบางที่ก็ไม่เหมาะที่จะกระทำ

ผมขอยกตัวอย่างเช่น

กรณีเรากำลังจะเดินทางเพื่อไปละหมาดวันศุกร์ แต่ก่อนออกจากบ้าน เกินพายุกระหน่ำ อิสลามเรียกเหตุการณ์นี้ว่า ดุรูเราะห์ เพราะหากเดินทางออกนอกบ้าน อาจเกิดอันตรายได้ แต่พายุฝนไม่ได้ตกทั่วประเทศ ดังนั้นในพื้นที่ที่ท้องฟ้าแจ่มใส ท่านก็สามารถไปละหมาดวันศุกร์ได้ตามปกติ

จำเป็น หรือไม่จำเป็น ทำได้หรือทำไม่ได้ ขึ้นอยุ่กับแต่ละคนจะพิจารณา

อย่าเถียง อย่าด่ากันเลย โดยเฉพาะ ท่านจุฬา ไม่ควรมีมุสลิมไทยคนใดไปล่วงเกิน เดือนนี้ เดือนรอมฎอน สะสมความดี ย่อมดีกว่าพฤติกรรมที่ออกจากปากแล้วจะสะสมบาป ซึ่งสวนทางการเจตนาแห่งเดือนอันประเสริฐ

อย่าเครียดกับความเห็นต่าง จนทำให้เราไม่รักกัน

ขอขอบคุณ: อภิชาต สุจิตวรรณศรี

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ประกาศจุฬาราชมนตรี การดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันที่ 1 เดือนเซาวาล (วันอีฎิ้ลฟิตริ) ฮิจเราะห์ศักราช 1445
อินนาลิ้ลลาฯ แก๊สระเบิดในมัสยิดบังกลาเทศ เสียชีวิต 12 บาดเจ็บ 45 คน
ประกาศจุฬาราชมนตรี แจ้งดูดวงจันทร์ เพื่อกำหนดวันที่ 1 เดือนซุ้ลฮิจยะห์ ฮ.ศ.1441
ประกาศจุฬาราชมนตรี แจ้งดูดวงจันทร์ กำหนดวันที่ 1 เดือนซุ้ลเกาะดะห์ ฮ.ศ.1441
ประกาศจุฬาราชมนตรี (ฉบับที่ 7/2563) การผ่อนปรนให้ปฏิบัติศาสนกิจละหมาดญะมาอะห์ที่มัสยิด
ประกาศจุฬาราชมนตรี วันที่ 1 เดือนเซาวาล (วันอีฏิ้ลฟิตริ) ฮิจเราะห์ศักราช 1441