ขายเว็บนี้ ติดต่อ LINE : 0895172266
วันเสาร์, 27 เมษายน 2567

โลกโซเซียลแห่ชื่นชมคู่บ่าวสาวกับสินสอดที่ง่ายๆ

โลกโซเซียลแห่ชื่นชมคู่บ่าวสาวคู่นี้

พิธีวาลีมะห์ของคู่บ่าวสาวคู่หนึ่ง มีการเผยแพร์โดยผู้ใช้เฟชบุ๊คท่านหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า Yuphin kunsaman ที่โพสต์ผ่าน Facebook จนเป็นกระแสชื่นชมอย่างกว้างขวาง และมีการไลค์ แชร์อย่างมากมาย โดยเจ้าของเฟชบุ๊คได้โพสต์และระบุข้อความว่า “วันนิก้ะ วันที่ 23เมษายน 2563 ที่บ้านคลองย่าหนัดเลขที่301หมู่4 ต.เกาะกลาง อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ค่ะ..ต้อนรับเดือนรอมฏอน .ขอให้ชีวิตต่อจากนี้จงแต่มีความสุข.ถึงแม้คนร่วมอวยพรจะน้อยและเงินสินสอดเพียง.229บาท ตามคำขอของฝ่ายเจ้าสาวแต่อนาคตจงอยู่ร่วมกันไปตลอดชีวิต.ด้วยความเข้าใจและให้อภัยกัน..ยุคโควิดสินสอดแค่นี้ก้อพอค่ะ..สู้ๆ.,.(เจ้าบ่าวให้ทุกวันสินสอดแค่นี้ไม่เป็นไรค่ะสะสมไปเรื่อยๆๆ)…วันนี้ท้อพรุ่งนี้ยังมีเวลาให้สู้ต่อขอให้รักกันและดูแลกันไปตลอดชีวิตนะ…. สั้นๆจากใจ… ”

ซึ่งในทัศนะของอิสลามที่เกี่ยวกับมาฮัร(ค่าสินสอด) คือ อิสลามได้กำหนดเงื่อนไขที่ทำให้การแต่งงานใช้ได้หรือไม่ ด้วยการที่เจ้าบ่าวต้องจ่ายมะฮัร(ค่าสินสอด) แก่เจ้าสาว แม้ว่าฝ่ายเจ้าสาวจะยินยอมแต่งโดยไม่คิดค่าสินสอดก็ตาม ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า
“พวกเจ้าจงมอบปัจจัยทานเป็นของขวัญแก่เหล่าสตรีเถิด”
(อันนิสาอฺ : 4)

มะฮัร(สินสอด)ถือเป็นของขวัญและสินน้ำใจที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิงด้วยความเต็มใจ เป็นข้อผูกพันที่สานสายใยแห่งความรักและความเข้าใจกัน

มะฮัรจึงไม่ใช่ค่าตัวในการประเมินราคาของสินค้า “ผู้หญิง”จึงมิใช่สินค้าที่ผู้ปกครองสามารถตั้งราคาค่าตัวเพื่อซื้อขายกัน ถ้าค่าตัวสูงกลับกลายเป็นว่าสินค้านั้นต้องดี แต่ถ้าค่าตัวถูกสินค้าที่ได้อาจไม่ใช่ของดี การมอบในลักษณะนี้ถือเป็นการดูถูกศักดิ์ศรีของสตรี  เพราะของแพงอาจไม่ดีอย่างที่คิดไว้ก็ได้ อิสลามจึงไม่กำหนดค่าสินสอด แต่ได้มอบหมายให้กับความพร้อมของฝ่ายชายและความสบายใจของฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละสังคมที่แตกต่างกันไป


“นะบีมูฮัมมัด ได้กล่าวแก่ชายคนหนึ่งที่ต้องการแต่งงานกับสตรีนางหนึ่งว่า
จงหาค่ามะฮัรถึงแม้จะเป็นแหวนเหล็กเพียงวงหนึ่งก็ตาม แต่ชายคนนั้นไม่สามารถหาได้เช่นเดียวกัน
ท่านนะบี จึงแต่งงานด้วยการให้ชายคนนั้นสอนบางซูเราะฮ์ในอัลกุรอานให่แก่สตรีที่จะแต่งงานด้วย”
(รายงานโดยอัลบุคอรีย์/5135)

ซึ่งปัญหาที่ต้องแก้ไขในปัจจุบันอย่างเร่งด่วน คือ สินสอด(มะฮัร)ที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ และได้เกิดค่านิยมวัตถุในสังคมมุสลิม ซึ่งพ่อแม่ฝ่ายหญิงมักจะเรียกค่าสินสอดที่เกินความพอดี เพื่อการโอ้อวด จนบางครั้งฝ่ายเจ้าบ่าวต้องยอมแพ้พร้อมท่องประโยคยอดฮิตว่า “รักแท้แพ้มะฮัร” ด้วยความตรอมใจ

สังคมมุสลิมต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นและต้องเป็นผู้ที่แก้ไขเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะหากปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข จะกลายเป็นต้นเหตุที่ทำให้การแต่งงานเป็นเรื่องยาก และการซินาเป็นเรื่องง่าย

จากหนังสือ “แต่งงานง่าย  ซินายาก”
โดย  อ.มัสลัน  มาหะมะ