
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงธากา ประเทศบังกลาเทศ เมื่อวันที่ 17 ก.พ. ว่านายอาซาดุซซามาน ข่าน รมว.กระทรวงมหาดไทยของบังกลาเทศ กล่าวเมื่อวันศุกร์ ภายหลังเสร็จสิ้นการพบหารือกับพล.ท. จอ ส่วย รมว.กระทรวงมหาดไทยของเมียนมา ที่กรุงธากา ว่ารัฐบาลบังกลาเทศมอบรายชื่อ 8,032 คน จาก 1,673 ครอบครัว ซึ่งอาศัยอยู่ตามค่ายผู้ลี้ภัยหลายแห่งในเมืองค็อกซ์ บาซาร์ ทางตะวันออกของบังกลาเทศ สำหรับเข้าสู่กระบวนการส่งกลับไปตั้งถิ่นฐานยังภูมิลำเนาเดิม คือในรัฐยะไข่ของเมียนมา
#Bangladesh has handed over a list of #Rohingya 8,032 individuals to Myanmar to start the first phase of repatriation. A meeting would be held in #Myanmar on February 20 to repatriate 6,000 Rohingyas now staying along the zero line. https://t.co/b7SNhKCZ33 @drzarni @YoursRohingya
— Ro Nay San Lwin (@nslwin) February 16, 2018
พล.ท. จอ ส่วย รมว.มหาดไทยเมียนมา และนายอาซาดุซซามาน ข่าน รมว.มหาดไทยบังกลาเทศ
อย่างไรก็ตาม ทางการบังกลาเทศปฏิเสธเปิดเผยว่าใช้เกณฑ์ใดในการพิจารณาคัดเลือกผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจากลุ่มนี้ และไม่ได้กล่าวอย่างชัดเจนด้วยว่าแล้วกระบวนการส่งกลับจะเริ่มขึ้นเมื่อใด หลังกำหนดการเดิมที่ต้องเกิดขึ้นเมื่อปลายเดือนที่แล้วมีอันต้องล่าช้าออกไปด้วย "ความไม่พร้อมบางประการ" แต่รัฐบาลธากายืนยันว่าเมียนมาจะทยอยรับผู้ลี้ภัยตามข้อตกลง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชาวโรฮีนจามากกว่า 1 ล้านคนซึ่งอาศัยกันอย่างแออัดอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยของบังกลาเทศ ภายใต้การดูแลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ( ยูเอ็นเอชซีอาร์ ) จะได้รับโอกาสให้เดินทางกลับประเทศทั้งหมด โดยในจำนวนนี้เกือบ 700,000 คนเป็นชาวโรฮีนจาซึ่งลี้ภัยสถานการณ์ความไม่สงบครั้งล่าสุดในรัฐยะไข่ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปลายเดือนส.ค. ปีที่แล้ว
Rohingya Muslim refugees who set up camp in a no man's land between Bangladesh and Myanmar worry for their safety after witnessing fresh arson across the barbed wire fence in their homeland of Rakhine pic.twitter.com/wgFkBZETWq
— AFP news agency (@AFP) January 24, 2018
ด้านนายจอยนัล อาเบดีน โฆษกทำเนียบประธานาธิบดีบังกลาเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า พล.ท. จอ ส่วย กล่าวระหว่างเข้าพบหารือกับประธานาธิบดีอับดุล ฮามิด ที่กรุงธากา เมื่อวันพฤหัสบดี ว่ารัฐบาลเมียนมาพร้อมรับกลับผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา โดยจะเป็นการปฏิบัติตามกฎระเบียบของคณะกรรมการที่ปรึกษารัฐยะไข่ ที่มีนายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ( ยูเอ็น ) เป็นประธาน และการประชุมครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 20 ก.พ. นี้ ที่เมียนมา แต่นายฟิลิปโป กรานดี ข้าหลวงใหญ่ยูเอ็นเอชซีอาร์ กล่าวว่าสภาพแวดล้อมในเมียนมาตอนนี้ "ยังไม่พร้อม" สำหรับการกลับสู่ภูมิลำเนา "อย่างสมัครใจ" ของชาวโรฮีนจา เนื่องจากรัฐบาลของนางออง ซาน ซูจี ยังปฏิเสธข้อเรียกร้องของทุกฝ่ายเกี่ยวกับการมอบสัญชาติให้แก่กลุ่มคนเหล่านี้.
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " บังกลาเทศส่งรายชื่อชาวโรฮีนจาเตรียมเดินทางกลับให้เมียนมา "