
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงมาเล ประเทศมัลดีฟส์ เมื่อวันที่ 6 ก.พ.ว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติของมัลดีฟส์ออกแถลงการณ์เมื่อช่วงรุ่งสางของวันอังคารตามเวลาท้องถิ่น ว่าเจ้าหน้าที่ได้ทำการจับกุมนายอับดุลลา ซาอีด ประธานศาลฎีกา และนายอาลี ฮามีด หนึ่งในผู้พิพากษาร่วมคณะตุลาการศาลฎีกา จากอาคารศาลฎีกาในกรุงมาเล "เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากหลายฝ่าย ว่าทั้งสองคนมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น" โดยไม่มีการระบุรายละเอียดใดเพิ่มเติมอีก
Chief Justice of #Maldives Supreme Court Abdulla Saeed arrested as political crisis worsens in the island nation#MaldivesCrisis
(video courtesy: @Raajje_tv) pic.twitter.com/3eqEm7JDh5
— Doordarshan News (@DDNewsLive) February 6, 2018
#Maldives police arrests former President Maumoon Abdul Gayoom shortly after his estranged half-brother President Abdulla Yameen declared a state of emergency#MaldivesCrisis
(video courtesy: @Raajje_tv) pic.twitter.com/IXFOMd2CCb
— Doordarshan News (@DDNewsLive) February 6, 2018
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีแนวโน้มสูงว่าจะยิ่งเพิ่มความตึงเครียดให้กับสถานการณ์การเมืองในมัลดีฟส์มากขึ้นไปอีก ซึ่งเกิดขึ้นภายในเวลาเพียงไม่กีชั่วโมง หลังเจ้าหน้าที่บุกจับกุมอดีตประธานาธิบดีเมามูน อับดุล กายูม พี่ชายต่างมารดาของประธานาธิบดีอับดุลลา ยามีน ผู้นำมัลดีฟส์คนปัจจุบัน ขณะที่ทำเนียบรัฐบาลในกรุงมาเลออกแถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ว่ายามีนลงนามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 15 วัน "เพื่อผดุงไว้ซึ่งความสงบของบ้านเมือง" และยืนยันว่า สิทธิขั้นถื้นฐานของประชาชนจะไม่ได้รับผลกระทบ ชาวมัลดีฟส์และนักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
ประธานาธิบดีอับดุลลา ยามีน ผู้นำมัลดีฟส์
นายเมามูน อับดุล กายูม
นอกจากนี้ แถลงการณ์เรื่องสถานการณ์ฉุกเฉินยังวิจารณ์คำพิพากษาของศาลฎีกาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และน่าจะเป็นชนวนเหตุสำคัญของความไม่สงบทางการเมืองครั้งนี้ ว่าการตัดสินใจของฝ่ายนิติบัญญัติกำลังคุกคามอำนาจของฝ่ายบริหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในและผลประโยชน์สาธารณะ
ทั้งนี้ คำสั่งของศาลสูงสุดมัลดีฟส์ คือการให้ยามีนปล่อยตัวนักโทษการเมือง 9 คน รวมถึงอดีตประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด นาชีด ซึ่งเป็นพันธมิตรกับตะวันตก และลี้ภัยอยู่ในสหราชอาณาจักรเป็นหลักตั้งแต่ปี 2559 แต่ตอนนี้เดินทางมายังศรีลังกาแล้ว พร้อมทั้งสั่งให้รื้อคดีของจำเลยทั้งหมด ซึ่งถูกฟ้องร้องในขอบเขตความผิดตั้งแต่การคอร์รัปชั่น ไปจนถึงการก่อการร้ายและการเป็นกบฏ เนื่องจากการสืบสวนสอบสอบสวนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา "เต็มไปด้วยอคติทางการเมือง" และศาลฎีกาต้องการให้ยามีนคืนตำแหน่งให้กับสมาชิกสภานิติบัญญัติ 12 คน ซึ่งถูกเพิกถอนไปเมื่อปีที่แล้ว ฐาน "แปรพักตร์" ไปเข้ากับพรรคฝ่ายค้าน โดยศาลวินิจฉัยแล้วว่าการที่ยามีนเพิกถอนตำแหน่งทางการเมืองลักษณะนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม การคืนตำแหน่งทางการเมืองให้แก่สมาชิกสภานิติบัญญัติทั้ง 12 คน จะส่งผลให้พรรครัฐบาลตกเป็นฝ่ายเสียงข้างน้อยในสภาที่มีอยู่ 85 ที่นั่งทันที และย่อมเท่ากับว่าพรรคฝ่ายค้านจะมีเสียงสนับสนุนเพียงพอ ในการยื่นญัตติอภิปรายถอดถอนยามีนออกจากตำแหน่ง
The U.S. is troubled by reports that Maldivian President Yameen has declared a State of Emergency, which gives sweeping powers to security forces to arrest and detain suspects, bans public gatherings, imposes travel restrictions and suspends parts of the #Maldives Constitution. pic.twitter.com/J2F3D80wIN
— Heather Nauert (@statedeptspox) February 5, 2018
ด้านทำเนียบขาวออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ประธานาธิบดีมัลดีฟส์ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลฎีกาโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งขอให้รัฐบาลและฝ่ายความมั่นคงปฏิบัติตามกฎหมาย ยึดมั่นในหลักนิติธรรม และไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของพลเรือน เพราะ "ประชาคมโลกกำลังจับตา" ส่วนกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐวิจารณ์การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของยามีนอย่างหนัก และประกาศเตือนภัยชาวอเมริกันในการเดินทางเยือนมัลดีฟส์แล้ว เช่นเดียวกับจีนและอินเดียที่ต่างประกาศเตือนพลเมืองของตัวเอง
แม้เป็นประเทศหมู่เกาะขนาดเล็กในมหาสมุทรอินเดีย ด้วยจำนวนประชากรเพียง 428,000 คน แต่มัลดีฟส์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีชื่อเสียงอย่างมากในฐานะดินแดนท่องเที่ยวติดอันดับต้นของโลก โดยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทำรายได้ให้แก่มัลดีฟส์มากถึง 2,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 84,510 ล้านบาท ) เมื่อปี 2559.
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ " ตำรวจมัลดีฟส์จับประธานศาลฎีกา-อดีตประธานาธิบดี "